วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การก่อการร้าย


การก่อการร้าย
11 กันยายน 200 1 [ภาพเหตุการณ์ 11 กันยายน]ผู้ก่อการร้ายในเครือข่าย al-Qaida จำนวน 19 คน ได้แยกกันปฏิบัติการดังกล่าวอย่างเชื่อมประสานกัน บุคคลเหล่านี้ได้ใช้มีดและคัดเตอร์สังหารหรือทำร้ายผู้โดยสารและนักบิน จากนั้นก็นำเครื่องบินทั้ง 4 ลำทำลายเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว
 ผู้ก่อการร้าย 5 คนยึดเครื่องบิน American Airlines เที่ยวบินที่ 11 จาก Boston มุ่งสู่ Los Angeles เมื่อเวลา 7:45 น. อีก 1 ชั่วโมงต่อมาเครื่องบินลำดังกล่าวก็ถูกบังคับให้พุ่งชนอาการเหนือของตึกแฝด World Trade Centre มรนครนิวยอร์ค
 ผู้ก่อการร้าย 5 คน ยึดเครื่องบิน United Airlines เที่ยวบินที่ 175 จาก Boston ไปยัง Lost Angeles เมื่อเวลา 7:58 น. ณ เวลา 9:05 น. เครื่องบินลำนี้ก็พุ่งชนอาคารใต้ของตึก World Trade Centre อาคารทั้ง 2 หลังทุดพังลงมาภายในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้น ทำให้ประชาชน 3,000 คน เสียชีวิต รวมทั้งที่เป็นนักผจญเพลิงและเจ้าหน้าที่ถูกโจมตี
 ผู้ก่อการร้าย 4 คน ยึดเครื่องบิน United Airlines เที่ยวบินที่ 93 จาก Newark ไปยัง San Francisco เมื่อเวลา 8:01 น. ณ เวลา 10:10 น. เครื่องบินลำนี้ตกลงที่เมือง Stony Creek Township มลรัฐเพนซิลเวเนีย ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวมทั้งสิ้น 45 คน เสียชีวิต เป้าหมายที่เครื่องบินลำนี้ถูกนำไปโจมตีไม่เป็นที่ทราบกัน แต่เชื่อว่าผู้โดยสารบนเครื่องคงจะต่อสู้ขัดขวางผู้
ก่อการร้ายจนไม่สามารถนำเครื่องบินไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ
 ผู้ก่อการร้าย 5 คน ยึดเครื่องบิน American Airlincs เที่ยวบินที่ 77 จากท่าอากาศยาน Washington Dulles ไปยัง Sos Angeles เมื่อเวลา 8:10 น ณ เวลา 9:39 น. เครื่องบินลำนี้บินตรงไปยังตึกกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (Pentagon) ในเมือง Arlington มลรัฐเวอร์จิเนี ใกล้ๆ กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ผู้โดยสารเครื่องบิน 189 คน เสียชีวิตพร้อมกับผู้ที่อยู่บนเครื่องทั้งหมด
ในบรรดาผู้ที่เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 3,000 คน จากปฏิบัติการก่อการร้ายทั้ง 4 กรณีที่ดำเนินการอย่างสอดประสานกันในวันที่ 11 กันยายน นั้น เป็นพลเมืองของประเทศต่างๆ รวม 78 ประเทศ (รวมทั้งจากประเทศไทยจำนวน 2 คน?) แน่นอนชาวอเมริกันย่อมตระหนักว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นสงครามก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกาโดยตรง แต่สงครามไล่าล่าผู้ก่อการร้ายที่ประกาศออกมาเกือบจะโดยทันทีโดยประธานาธิบดี George W Bush จะไม่ยุติอยู่ที่การจัดการกับกลุ่ม
al-Qaida ที่รับผิดชอบก่อปฏิบัติการ 11 กันยายนเท่านั้น แต่จะเป็นการไล่ล่าผู้ก่อการร้ายทุกกลุ่มทั่วโลก ทุกประเทศจึงมีโอกาศที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากทั้งปฏิบัตการก่อการร้ายและสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่จะขยายตัวออกไปทั่วโลก [รูปและคำกล่าวของประธานาธิบดี Bush ในกรอบ]วันที่ 11 กันยายน 2001 ขบวนการก่อการร้ายสากลได้ปฏิบัติการครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ปฏิบัติการครั้งนี้ประกอบด้วยการยึดเครื่องบินโดยสาร 4 ลำในสหรัฐอเมริกา โดย


สงครามครั้งนี้จะไม่ยุติจนกว่ากลุ่มก่อการร้ายทุกกลุ่มที่สามารถปฏิบติระดับโลกจะ
ถูกค้นพบ หยุดยั้ง และถูกพิชิตโดยสิ้นเชิง”
“สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของเริ่มที่ขบวนการ al-Qaida แต่จะไม่ยุติลงเพียงนั้น การก่อการร้าย: เพื่อความเข้าใจพื้นฐานเหตุการณ์ 11 กันยายน มิใช้ปฏิบัติการก่อการร้ายรุนแรงครั้งแรก ปฏิบัติการที่เรียกได้ว่าเป็น “การก่อการร้าย” (terrorism) มีมาก่อนที่จะมีคำนี้ใช้เป็นเวลานาน คำว่า Wterror” ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อใช้กับช่วงสมัยที่มีการเข่นฆ่ารุนแรงในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1793-1794 (เรียกช่วงสมัยนั้นว่า “Reign of Terror”) แต่ปฏิบัติการรุณแรงโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับศาสนา มีความเป็นมายาวนานในประวัติศาสตร์ นอกจากนั้น ปฏิบัตการก่อการร้ายมีปรากฏในหลายลักษณะ และเกี่ยวข้องกับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนาและอุดมการณ์ หรือความคิดและเป้าหมายทางการเมอง เราคงต้องเริ่มต้นด้วยการทำความเข้ามจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้เสียก่อนการก่อการร้ายคืออะไร?
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้ให้นิยามการก่อการร้ายว่าเป็น “ปฏิบัติการ
รุนแรงที่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน โดยกลุ่มภายในชาติหรือสายลับที่ปฏิบัติการใต้ดิน โดยมีแรงจูงใจทางการเมืองต่อเป้าหมายที่มิใช่หน่วยรบ เพื่อก่อให้เกิดอิทธิพลต่อกลุ่มที่รับรู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นสำคัญ นาย Paul Pillar อดีตรองหัวหน้าศูนย์ต่อการก่อการร้ายของCIA ให้ความหมายไว้ในลักษณะเดียวกัน โดยแยกแยะลักษณะพื้นฐาน 4 ประการของการก่อการร้ายไว้ ดังนี้
l เป็นปฏิบัติการที่มีการไตร่ตรองและวางแผนล่วงหน้า มากกว่าจะเป็นปฏิบัติการจาก แรงกระตุ้นของความโกรธหรือความแค้น
l เป็นปฏิบัติการทางการเมือง มิใช่เป็นอาชญากรรม เช่น ความรุนแรงที่กลุ่ม
มาเฟียใช้ โดยมุ่งหมายจะเปลี่ยนแปลงระเบียบทางการเมืองที่ดำรงอยู่
l เป็นปฏิบัติการต่อพลเรือน มิใช่ต่อเป้าหมายทางทหาร หรือหน่วยกำลังที่มีความ พร้อมในการสู้รบ
l เป็นการดำเนินการโดยกลุ่มภายในชาติ มิใช่โดยกองทัพหรือกองกำลังของประเทศ ใดประเทศหนึ่ง
แม้ว่าเราจะระบุได้โดยไม่ยากนักว่า ปฏิบัติการโดยใช้ความรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการก่อการร้ายหรือไม่ แต่แม้กระทั่งในบรรดาผู้เชี่ยวชาญเอง ก็ยังไม่สามารถกำหนดนิยามของปฏิบัติการเช่นนี้อย่างแน่นอนและเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ นอกจากนั้น นัยทางการเมืองของการก่อการร้ายก็ย่อมทำให้ความเข้าใจร่วมกันยิ่งยากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี เพื่อความเข้าใจพื้นฐานเราคงต้องรับเอานิยามชั่วคราวบางประการไว้ก่อนการก่อการร้ายมีความเป็นมาอย่างไร?
การก่อการร้ายในช่วงสมัยใหม่ปรากฏขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น องค์การที่เรียกว่า Naroderaya (“People’s Will”) ที่ต่อต้านระบอบปกครองของซาร์ในรัสเซีย การก่อการร้ายครั้งสำคัญที่ถือว่าเป็นการจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ การลอบปลงพระชนม์ Archduke Franz Ferdinand แห่งออสเตรีย โดยชาวเซอเบียหัวรุนแรง และปฏิบัติการก่อการร้ายสะเทือนขวัญอย่างมากครั้งหนึ่ง ที่ถือเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยของเราก่อนหน้า 11 กันยายน คือปฏิบติการต่อ
นักกีฬาอิสราเอลในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่นครมินิค ค.ศ. 1972 [กรอบแสดงกรณี
ตัวอย่างการก่อการร้ายร่วมมัยก่อน 11 กันยายน]
การก่อการร้ายที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ น่าจะได้แก่ปฏิบัติการโดยนักรบทางศาสนา เช่น ในดินแดนปาเลสไตน์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวยิวหัวรุนแรงใช้วิธีการเชิดคอชาวโรมันและผู้ที่สมคบกับพวกนี้ในที่สาธารณะ ในอินเดียในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กลุ่มความเชื่อที่เรียกว่า “Thuggee” จะทำพิธีรัดคอผู้ที่เดินทางผ่านมาจนเสียชีวิตเพื่อเซ่นสังเวยเจ้าแม่กาลี และในตะวันออกกลางในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 กลุ่มมุสลิมนิกายชีอะต์ที่เรียกว่า “Assassins” จะเช่นฆ่าศัตรูที่เป็นพลเรือน
ปฏิบัติการก่อการร้ายครั้งสำคัญบางส่วน 1961-2001

· วันที่ 28 สิงหาคม 1968 เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกัวเตมาลา John Gordon Mein ถูกฆาตกรรม โดยกลุ่มกบฏกลุ่มหนึ่งในประเทศนี้ โดยพวกกบฏได้จี้บังคับรถยนต์ ของสถานทูตสหรัฐที่เขานั่งมาให้ออกนอกถนนในกรุงกัวเตมาลา ซิตี้ แล้วระดมยิง รถจนเอกอัครราชทูตสหรัฐเสียชีวิต
· เหตุการณ์ “Bloody Friday” วันที่ 21 กรกฎาคม 1972 การลอบวางระเบิด โดย
ขบวนการ IRA (lrish Republican Army) ในเมือง Belfast ไอร์แลนด์เหนือ ทำ ให้มีผู้เสียชีวิต 11 คน และบาดเจ็บ 130 คน อีก 10 วันต่อมา มีการโจมตีโดยระเบิด รถยนต์อีก 3 ครั้ง ที่หมู่บ้าน Claudy มีผู้เสียงชีวิต 6 คน
· การสังหารหมู่ที่โอลิมปิคที่นครมิวนิค โดยกลุ่มก่อการร้าย “Black September”
ชาวปาเลสไตน์ 8 คน บุกจับตัวนักกีฬาอิสราเอล 11 คน ที่หมู่บ้านโอลิมปิค นวคร มิวนิค ประเทศเยอรมัน ตัวประกัน 9 คน และผู้กาอการร้าย 5 คน เสียชีวิต
· วันที่ 2 มีนาคม 1973 เอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำซูดาน Cleo A Noel และนักการ ทูตอีกจำนวนหนึ่ง ถูกลอบสังหารที่สถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาเรเบีย ประจำ ซูดาน โดยขบวนการ Black September
· วิกฤตตัวประกันที่สนามบิน Entebbe วันที่ 27 มิถุนายน 1976 สมาชิกกลุ่ม
Baader-Meinhof และขบวนการ Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP) ได้ยึดเครื่องบินโดยสารสายการบิน Air France ซึ่งมีผู้โดยสาร 258 คน และบังคับให้ไปลงจอดที่สนามบิน Entebbe ประเทศอูกานดา และในวันที่ 2 กรกฎาคม ต่อมา หน่วยคอมมานโดของอิสราเอลก็บุกเข้าช่วยผู้โดยสารที่ถูกจับเป็นตัวประกันออกมาได้
· วิกฤตตัวประกันที่อิหร่าน หลังจากที่ประธานาธิบดี Jimmy Carter ได้อนุญาติให้ อดีตชาร์ แห่งอิหร่านเดินทางเข้าสหรับอเมริกาได้ กลุ่มชาวอิหร่านหัวรุนแรง ได้บุกยึดสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะรานเมื่อวันที 4 พฤศจิกายน 1979 โดยจับตัวนักการ ทูตสหรัฐ 66 คน เป็นตัวประกัน ต่อมาตัวประกัน 13 คน ถูกปล่อยออกมา แต่ที่เหลือ 53 คน ถูกปล่อยเมื่ออีกกว่า 1 ปี ต่อมา คือ ในวันที่ 20 มกราคม 1981
· การยึดสุเหร่า Grand Mosque เมื่อวันที่ 20 พฤศจิการยน 1979 โดยกลุ่มก่อการร้าย อิสลาม 200 คนบุกยึดสุเหร่าแห่งนี้ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาเรเบีย จับผู้แสวงบุญหลายร้อยคนเป็นตัวประกัน ในการปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกัน โดยกอง กำลังรักษาความปลอดภัยซาอุดิอาเรเบียและฝรั่งเศส มีผู้เสียชีวิต 250 คน และบาด เจ็บอีก 600 คน
· การลอบสังหารประธานาธิบดี Anwar Sadat แห่งอียิปต์ เมื่อที่ 6 ตุลาคม 1981 โดยทหารในกองทัพซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่ม Takfir Wal-Hajira อย่างลับๆ ทหารเหล่านี้ลง มือขณะที่ประธานาธิบดีกำลังตรวจพล
· การลอบสังหารนายกรัฐมาตรีเลบานอน Bashir Gemayel เมื่อวันที่ 14 กันยายน1982 โดยรถยนต์บรรทุกระเบิดที่จอดไว้นอกสำนักงานใหญ่ของพรรคของเขาใน กรุงเบรุต
1983
1961-1982· เครืองบินสหรัฐลำแรกลำแรกถูกยึดโดยสลัดอากาศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1961ชาวเปอร์โตริกันชื่อ Antuilo Ramierez Ortiz ใช้ปืนขู่บังคับให้เครื่องบิน National Airlines บินไปยังกรุงฮาวานา ประเทศคิวบาและได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยทางการเมืองในประเทศนี้·
ทำให้มีผู้เสียชีวิต 63 คน รวมทั้งผู้อำนวยการ CIA ประจำตะวันออกกลาง และบาด เจ็บอีก 120 คน กลุ่ม Islamic Jihad อ้างความรับผิดชอบกรณีนี้
· ปฏิบัติการก่อการร้ายโดยสายลับเกาหลีเหนือ เมื่อวันที 9 ตุลาคม 1983 โดยใช้ระเบิดสังหารคณะผู้แทนเกาหลีใต้ในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ทำให้มีผู้เสียชีวิต 21 คน และบาดเจ็บ 48 คน
· การระเบิดค่ายทหารนาวิกโยธินสหรัฐในกรุงเบรุต ประเทศเลาบานอน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 1983 โดยมือระเบิดพลีชีพที่ใช้รถบรรทุกระเบิด 12,000 ปอนด์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 242 คน และการลอบวางระเบิดขนาด 400 ปอนด์ ในเวลาเดียวกันที่ค่ายทหารฝรั่งเศส ก็ทำให้มีผู้เสียชีวิต 58 คน กลุ่ม Islamic Jihad อ้างความรับผิดชอบครั้งนี้
1984
การวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในเบรุต ประเทศเลบานอน วันที่ 18 เมษายน 1983
·
· การระเบิดวิหารทองคำ (Golden Temple) ในเมือง Amritsar ประเทศอินเดีย โดยผู้ ก่อการร้ายชาวซิกห์ มีผู้เสียชีวิต 100 คน เมื่อกองกำลังรักษาความปลอดภัยของ อินเดียบุกยึดวิหารศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้คืนจากผู้ก่อการร้าย
· การลอบสังหารนายกรัฐมนตรี Indira Gandhi แห่งอิเดีย เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1984 โดยสมาชิกกองกำลังรักษาความปลอดภัยของนางเอง
1985
การระเบิดภัตราคารใกล้ฐานทัพ Torrejon ในสเปน โดยกลุ่ม Hezballah เมื่อวันที่ 12 เมษายน 1984 ทำให้ทหารอเมริกัน 18 คน เสียงชีวิต และมีผู้บาดเจ็บอีก 83 คน
·
ลูกเรือ 8 คน และผู้โดยสาร 145 คน ถูกจับเป็นตัวประกันเป็นเวลา 17วัน โดยใน ระหว่างนั้นตัวประกันชาวอเมริกัน 1 คน ซึ่งเป็นทหารเรือถูกฆ่า
· การระเบิดเครื่องบิน Bocing 747 ของสายการบิน Air India เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1985 ระหว่างบินอยู่เหนือมหาสมุทรแตแลนติก ทำให้มีผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 329 คน เสียชีวิต ทั้งกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวซิกห์และแคชเมียร์ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รับ ผิดชอบ

1986
การยึดเครื่องบิน TWA เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1985 โดยผู้ก่อการร้ายชาวเลบานอน 2 คน ระหว่างเดินทางจากโรมไปยังเอเธนส์ เครื่องบินถูกบังคับให้ลงจอดที่เบรุต
·
· การระเบิดสถานดิสโกเธคในนครเบอร์ลินตะวันตก เมื่อวันที่ 5 เมษายน 1986 โดย
ฝีมือของผู้ก่อการร้ายชาวลิเบีย ทำให้ทหารอเมริกัน 2 คน เสียชีวิตและอีก 79 คน บาดเจ็บ รัฐบาลสหรัฐตอบโต้ด้วยการส่งเครื่องบินโจมตีทิ้งระเบิดเป้าหมายในและ ใกล้ๆ เมือง Tripoli และ Benghazi ในลิเบีย
· การระเบิดท่าอากาศยาน Kimpo ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยสายลับเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 1986 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน และบาดเจ็บ 29 คน
· การระเบิดรถโดยสารกองทัพอากาศกรีซใกล้ๆ กรุงเอเธนส์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 1987 โดยกลุ่มที่รู้จักกันในนาม “17 November” ทหารอเมริกัน 16 คน ได้รับบาดเจ็บ
· การระเบิดเครื่องบิน Korean Airlines เที่ยวบิน 858 โดยสายลับเกาหลีเหนือ ทำให้เครื่องบินตกลงในมหาสมุทรอินเดีย
1988
การระเบิดเครื่องในกรีซ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 1986 โดยกลุ่มชาวปาเลสไตน์ที่แยกตัวกลุ่มหนึ่ง จุดระเบิดขึ้นขณะที่เครื่องบิน TWA เที่ยวบิน 840 กำลังลงจอด ที่ท่าอากาศยานเอเธนส์ พลเรือน ทำให้อเมริกัน 4 คน เสียชีวิต
·
1989
·
· การลอบสังหารประธานธนาคาร Deutsche Bank ชื่อ Alfred Herrhausen ใน Frankfurt เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1989
1990
การลอบสังหารผู้ช่วยทูตทหารประจำสถานทูตสหรัฐในกรีซ โดยรถยนต์บรรทุกระเบิดที่ถูกจุดระเบิดขึ้นใกล้บ้านพักของเขาในกรุงเอเธนส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1988 · การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 ที่ Lockerbie สก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1988 ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 259 คน เสียชีวิต เชื่อว่าระเบิดถูกวางไว้บนเครื่องบินขณะอยู่ใน Frankfurt เยอรมนีตะวันตก โดยผู้ก่อการร้ายชาวลิเบียการลอบสังหาร พันเอก James Rowe นายทหารกองทัพบกสหรัฐ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 1989 โดย New People’s Army (NPA) ในกรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และในเดือนต่อ NPA ก็ได้สังหารผู้รับเหมาด้านการป้องกันประเทศของรัฐบาล สหรัฐอีก 2 คน
·
· การสังหารทหารอเมริกันในฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 1990 โดย NPA ใกล้ๆ กับฐานทัพอากาศ Clark

1991
การระเบิดสถานทูตสหรัฐในเปรู เมื่อวันที่ 15 มกราคม 1990 โดยขบวนการ Tupac Amaru Revolutionary Movement
·
ห้องสมุดสำนักงานข่าวสารอเมริกัน (USIS) ในกรุงมนิลา เมื่อวันที่ 18-19 มกราคม 1991
สายลับของอิรักวางระเลเบิดที่บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำอินโดนีเซีย และ
1992·
1993
กลุ่ม Hezballa อ้างความรับผิดชอบในการวางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในกรุงบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 1992 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 29 คน และบาดเจ็บ 242 คน
·
· สายลับอิรักพยายามลอบสังหารอดีตประธานาธิบดี George Bush เมื่อวันที่ 14 เมษายน 1993 ในระหว่างการเยือนคูเวต สหรัฐอเมริกาตอบโต้เมื่ออีก 2 เดือนต่อมา ด้วยโจมตีกรุงแบกแดดด้วยขีปนาวุธร่อน (cruise missile)
ตึก World Trade Cerntre ในนครนิวยอร์ค ถูกวางระเบิดที่บรรทุกมาในรถยนต์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1993 โดยผู้ก่อการร้ายอิสลาม แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 คน และบาดเจ็บอีก 1,000 คน ผู้ปฏิบัติการก่อการร้ายครั้งนี้เป็นศานุศิษย์ ของ Umar Abd al-Rahman นักการศาสนาชาวอียิตป์ที่สั่งสอนอยู่ในเขตมหานครนิวยอร์ค

1994·
1995
การฆ่าหมู่ที่ Bebron โดยชาวยิวแนวคิดขวาจัดที่เป็นพลเมืองสหรัฐ ชื่อ Baruch Goldstein ชายผู้นี้กราดปืนกลเข้าไปในสุเหร่าเมือง Bebron ในเขต West Bank เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1994 ทำให้ชาวมุสลิมที่สวดมนต์อยู่ในสุเหร่าเสียชีวิต 29 คน และบาดเจ็บ 150 คน
·
· การโจมตีสถานีรถไฟใต้ดินในโตเกียวด้วยแก๊สทำลายประสาทซาริน ขณะที่มีคน แออัดพลุกพล่าน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 1995 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บ 5,700 คน เกือบจะในขณะเดียวกันนั้น ก็มีปฏิบัติการในลักษณะเดียวกันในสถานี รถไฟใต้ดินในโยโกฮามาด้วย กลุ่มลัทธิ Aum-kyu ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้
· การระเบิดอาคาร Federal Building ในเมือง Oklahoma City เมื่อวันที่ 19 เมษายน1995 โดยพวกหัวรุนแรงขวาจัด Timothy McVeigh และ Terry Nichols ได้ทำลายอาคารหลังนี้และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 166 คน และบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน นับเป็นปฏิบัติการก่อการร้ายครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าทีเคยมีมาก่อนหน้านั้นในแผ่นดินอเมริกา
· การระเบิดสถานทูตอียิปต์ในอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน โดยรถยนต์บรรทุระเบิดที่ขับพุ่งเข้าไปในเขตสถานทูต ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 คน และบาด เจ็บ 60 คน กลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอ้างความรับผิดชอบในเหตุการณ์ครั้งนี้
มือปืนที่ไม่ทราบว่าเป็นใคร 2 คน สังหารนักการทูตสหรัฐ 2 คน และคนที่ 3 ได้รับบาดเจ็บในนครการาจี ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1995
1996·
· การระเบิดรถโดยสารโดยกลุ่ม Hamas ในกรุงเยรูซาเลม เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์
1996 โดยมือระเบิดพลีชีพคนหนึ่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน ในจำนวนนี้เป็นพลเมืองอเมริกัน 2 คน และบาดเจ็บอีกประมาณ 80 คน รวมทั้งชาวอเมริกัน 3 คน
· การระเบิด Dizengoff Centre ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดใน Tel Aviv เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 1996 โดยกลุ่ม Hamas และ Palestine Islamic Jihad (PIJ) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 20 คน และบาดเจ็บ 75 คน รวมทั้งชาวอเมริกัน 2 คน
· การระเบิด Khobar Towers ซึ่งเป็นที่พำนักของหน่วยทหารสหรัฐใน Dhaharan เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1996 ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิต 19 คน และบาดเจ็บ 515 คน รวมทั้งบุคลากรทางทหารของสหรัฐอเมริกา 240 คน มีหลายกลุ่มอ้างความรับผิดชอบการระเบิดครั้งนี้
· การระเบิดรถไฟใต้ดินในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1996 ขณะที่รถไฟกำลังจะมาถึงสถานี Port Royal ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นชาวฝรั่งเศส 2 คน ชาวมอรอคโค 1 คน และชาวแคนาดา 1 คน และมีผู้บาดเจ็บ 86 คน ไม่มีผู้อ้างความรับผิดชอบ แต่สงสัยว่าจะเป็นฝีมือของชาวอัลจีเรียหัวรุนแรง
1997
การโจมตีของกลุ่ม Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE) เมื่อวันที่ 3 มกราคม 1996 ด้วยการขับรถบรรทุกระเบิดพุ่งเข้าชนธนาคารกลางของศรีลังกา กลางใจกรุง โคลอมโบ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 90 คน และบาดเจ็บกว่า 1,400 คน รวมทั้งพลเมืองอเมริกัน 2 คน
· การระเบิดศูนย์การค้า Ben Yehuda ในกรุงเยรูซาเลม เมื่อวันที่ 4 กันยายน 1997 โดยมือระเบิดพลีชพี 3 คน ของกลุ่ม Hamas ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คนและบาดเจ็บ เกือบ 200 คน ผู้บาดเจ็บและเสียวชีวิตมีทั้งชาวอเมริกันและชาวอิสราเอล
· การสังหารนักธุรกิจชาวอเมริกัน 4 คน ของบริษัท Union Texas Petroleum Coporation และคนขับรถชาวปากีสถาน โดยมือปืน 2 คน ที่ไม่ทราบว่าเป็นใครในนครการาจี ประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1997 มีผู้อ้างความรับผิดชอบ 2 ราย คือ Islamic Inqilabe Council (หรือ Islamic Revolutionary Council) และ Ailmak Khufia Action Committee
การลอบยิงนักท่องเทียวที่ตึก Empire State ในมหานครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1997 โดยมือปืนชาวปาเลสไตน์ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวเดนมาร์กเสียชีวิต 1 คน และมีนักท่องเที่ยวจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา สวิสเซอร์แลนด์ และ ฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ1998·
· การระเบิดสถานทูตสหรัฐในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 1998ทำให้มีพลเมืองอเมริกัน 12 คน เจ้าหน้าที่การทูตของชาติต่างๆ 32 คน และพลเมืองเคนยา 247 คน เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บชาติต่างๆ มีรวมกันถึง 5,000 คน อาคารสถานทูตได้รับความเสียหายอย่างหนัก และเกิดจะในเวลาเดียวกันนั้น ก็เกิดระเบิดขึ้นที่สถาน ทูตสหรัฐในสหรัฐใน Dar es Salaam ประเทศแทนซาเนีย ทำให้บุคลากรทางการทูตของประเทศต่างๆ 7 คน และชาวแทนซาเนีย 3 คน เสียชีวิต ส่วนผู้บาดเจ็บเป็นชาว อเมริกัน 1 คน และชาวแทนซาเนีย 76 คน รัฐบาลสหรัฐเชื่อว่า Usama Bin Laden เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการระเบิดทั้ง 2 แห่ง
กลุ่มกบฏ FARC ลักพาตัวชาวอเมริกัน 1 คน ใน Sabaneta ประเทศโคลัมเบีย กบฏกลุ่มนี้ยังสังหารประชาชน 3 คน ทำให้ได้รับบาดเจ็บ 14 คน และลักพาตัวเป็นชาว อเมริกัน 4 คน และชาวอิตาเลียน 1 คน
1999·
· การบุกยึดสถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1999 โดยชาวพม่ามีต่อต้านรัฐบาลย่างกุ้ง โดยจับตัวประชาชน 89 คน รวมทั้งชาวอเมริกัน 1 คน เป็นตัวประกัน
การลักพาตัวโดยกลุ่มกบฏเผ่า Hu Tu ซึ่งบุกโจตีแคมป์นักท่องเที่ยวในยูกานดา 3 แห่ง สังหารชาวยูกานดา 4 คน และลักพาตัวชาวอเมริกัน 3 คน ชาวอังกฤษ 6 คน ชาวนิวซีแลนด์ 3 คน ชาวเดนมาร์ก 2 คน ชาวออสเตรเลีย 1 คน และชาวแคนาดา1 คน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1999 ชาวอเมริกัน 2 คน และผู้ถูกลักพาตัวชาติอื่นๆ อีก 6 คน ถูกสังหาร
2000·
2 คนที่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ได้ลอบสังหาร Stephen Saunders ผู้ช่วยทูตทหารอังกฤษ องค์การปฏิวัติ (Revolutionary Organisation) อ้างความรับผิดชอบในการลอบ สังหารครั้งนี้
การลอบสังหารนักการทูตในกรุงเอเธนส์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2000 โดยมือปืน · การระเบิดโบสถ์คริสต์ใน Dushanbe ประเทศทาจิกีสถาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2000 โดยกลุ่มหัวรุนแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีก 70 คน โบสถ์แห่งนี้ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี และผู้เสียงชีวิต 7 คน และบาดเจ็บอีก 70 คน โบสถ์แห่งนี้ก่อตั้งโดยชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นชาว เกาหลี ไม่มีผู้ใดอ้างความรับผิดชอบการระเบิดในครั้งนี้· การโมตีเรือพิฆาต USS Cole ของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2000 ใน Aden ประเทศเยเมน โดยเรือเล็กบรรทุกระเบิดได้พุ่งเข้าชนเรือรบลำนี้ ทำให้ลูกเรือ 17 คน เสียชีวิต และบาดเจ็บอีก 39 คน สงสัยกันว่ากลุ่มสนับสนุนนาย Usama Bin Laden จะเป็นผู้รับผิดชอบการระเบิดครั้งนี้

2001·
· การระเบิดร้านพิซซ่าในนครเยรูซาเลม เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2001 โดยกลุ่ม Hamas ทำให้มีผู้เสียชีวิต 15 คน และบาดเจ็บมากกว่า 90 คน
· เหตุการณ์ 11 กันยายน
การโจมตีท่าอากาศยาน Srinagar Aiport ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2001 โดยสมาชิกกลุ่มหัวรุนแรง Lashkar-e-Tayyba 6 คน ถูกสังหารในขณะพยายามยึดท่า อากาศยานแห่งนี้เป้าหมายของการก่อการร้ายคืออะไร?

เมื่อพิจารณาในแง่จะเห็นได้ว่า การก่อการร้ายมุ่งผลด้านจิตวิทยาเป็นสำคัญ นั่นคือ มุ่งหวังว่าผลทางจิตวิทยาของความรุนแรงจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือความสำเร็จในการเรียกร้องอย่างใดอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ลักษณะการก่อการร้ายที่เปลี่ยนไป ทำให้ความเข้าใจที่ว่า ผู้ก่อการร้ายมุ่งหมายที่จะให้คนสนมากกว่าทำให้คนตาย อาจต้องเปลี่ยนเสียใหม่ด้วย การเกิดขึ้นของกลุ่มก่อการร้ายทางศาสนาที่มุ่งไปในทางทำลายล้างและมีอาวุธที่มีอำนาจทำลายร้ายแรง (weapons of mass destruction) ทำให้เป้าหมายของการก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตจำนวนมาก อาจจะเข้ามาแทนที่เป้าหมายของการเร้าความสนใจไปแล้ว
ปฏิบัติการก่อการร้ายโดยทั่วไปเป็นเหตุการณ์ชวนตื่นเต้น หรือน่าตื่นตระหนก เพราะเป้าหมายสำคัญของการก่อการร้ายก็คือ สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จนถึงกับผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายคนหนึ่ง คือ Brian Jenkins ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ ค.ส. 1974 ว่า “การก่อการร้าย คือละคร” (Terrorism is theatre) กลุ่มก่อการร้ายเองตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มองการกระทำของตนในลักษณะนั้น ดังเช่นที่กลุ่มอนาธิปไตยในรัสเซียสมัยซาร์ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ถือว่าปฏิบัติการรุนแรงของพวกตนเป็น “การโฆษณาชวนเชื่อโดยกระทำ” (propaganda by deed)มีความแตกต่างในลักษณะหรือขอบเขตของความรุนแรงของการก่อการร้ายในอดีตและปัจจุบันหรือไม่?แนวโน้มที่อาจจะเห็นเป็นข้อแตกต่างประการหนึ่งคือ แนวโน้มความรุนแรงที่สูงขึ้น เหตุการณ์ 11 กันยายน ถือว่าเป็นปฏิบัติการก่อการร้ายที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยที่ก่อนหน้านั้น เหตุการณ์ที่ถือได้ว่าร้ายแรงได้แก่การระเบิดเครื่องบิน เช่น เครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 ที่ถูกระเบิดที่ Lockerbie สก๊อตแลนด์ ใน ค.ศ. 1988 หรือการระเบิดเครื่องบิน Air India ใน ค.ศ. 1985 โดยในแต่ละกรณีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คน การระเบิดสถานทูตสหรัฐในเคนยาและแทนซาเนีย ใน ค.ศ. 1998 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 224 คน เป็นการระเบิดอาคารครั้งร้ายแรงที่สุดก่อนเหตุการณ์ 11 กันยายน ปฏิบัติการรุนแรงอีก 2 กรณีก่อนหน้านั้น คือ การระเบิดค่ายทหารสหรัฐในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ในค.ศ. 1983 ทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิต 242 คน และการระเบิดอาคารใน Oklahoma City ใน ค.ศ. 1995 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 168 คนเมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าวันที่ 11 กันยายน 2001 จะเห็นแนวโน้มของความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นดังกล่าว ในช่วงทศวรรษ 1900 จำนวนการก่อการร้ายมีน้อยกว่าช่วงก่อนหน้านั้น แต่ความรุนแรงในแง่ของจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่า เหตุผลส่วนหนึ่งก็คือ ช่วงก่อนทศวรรษ 1990 กลุ่มก่อการร้ายบางกลุ่มยังถูกเหนี่ยวรั้งโดยความหวั่นเกรงว่า การใช้ความรุนแรงเกินของเขตจะเป็นผลเสียมากกว่า กลุ่มก่อการร้ายที่ต่อสู้มาอย่างยาวนานเพื่อความเป็นชาติของตน เช่น Palestine Liberation Organisation (PLO) หรือ Irish Republican Army (IRA) ก็ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงเกิดขอบเขตจนทำให้สูญเสียการสนับสนุนทั้งจากประชาชนของตนเองและจากภายนอกแต่ปัจจุบันพลังเหนี่ยวรั้งไม่ว่าจะในแง่ใดดูจะเหลือน้อยอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มอย่างเช่น al-Qaidaมีกลุ่มก่อการร้ายเคยใช้อาวุธทำลายร้ายแรง (weapons of nass destryctuib)ใน ค.ศ. 1995 สมาชิกกลุ่ม Aum Shinri-kyu ในประเทศญี่ปุ่นได้ใช้แก๊สทำลายประสาทซาริน ปล่อยเข้าไปในสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงโตเกียว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 12 คน และบาดเจ็บกว่า 3,500 คน ซึ่งนับเป็นการใช้อาวุธเคมีครั้งแรกโดยผู้ก่อการร้าย นอกจากนั้นในช่วงปลาย ค.ศ. 2001 ก็มีการส่งเชื้อโรคแอนแทรกซ์ไปทางไปทางจดหมายในสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นการใช้อาวุธชีวภาพครั้งแรกโดยกลุ่มที่ยังไม่ทราบว่าเป็นใครประเภทต่างๆ ของการก่อการร้ายมีอะไรบ้าง?
· การก่อการร้ายแนวชาตินิยม (nationalist terrorism) ผู้ก่อการร้ายแนวชาตินิยมมี ความมุ่งหมายจะก่อตั้งรัฐของตนเองเป็นเอกเทศ โดยมักจะใช้วิธีการดึงความสนใจไปที่การต่อสู้เพื่อ “การปลดปล่อยแห่งชาติ” (national liberation) การก่อการร้ายประเภทนี้มักจะได้รับความเห็นอกเห็นใจจากนานาชาติ จึงไม่ต้องการใช้ความรุนแรงเกินขอบเขตจนสูญเสียความเห็นอกเห็นใจหรือการสนับสนุน กลุ่มชาตินิยมซึ่ง เป็นที่รู้จักกันดี คือ IRA และ PLO
· การก่อการร้ายทางศาสนา (religious terrorism) กลุ่มก่อการร้ายทางศาสนามุ่งใช้ความรุนแรงเพื่อสิ่งที่ถือว่าเป็นความมุ่งหมายที่กำหนดโดยหลักการหรือความเข้าใจทางศาสนาของตน การก่อการร้ายในลักษณะนี้มุ่งไปที่ฝ่ายที่ถือว่าเป็นศัตรูเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ กลุ่มก่อการร้ายทางศาสนามาจากทั้งศาสนาใหญ่ๆ และกลุ่มลัทธิต่างๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในบรรดากลุ่มก่อการร้ายประมาณ 56 กลุ่ม ซึ่งมีการระบุไว้และยังดำเนินการอยู่นั้น เป็นกลุ่มที่มีแรงจูงใจทางศาสนาเกือบครึ่ง ตัวอย่างกลุ่มศาสนาที่สำคัญได้แก่ เครือข่าย al-Qaida กลุ่ม Hamas (องค์กรมุสลิมสุหนี่ชาวปาเลสไตน์) กลุ่ม Hezballah (มุสลิมชีอะต์ชาวเลบานอน) กลุ่มหัวรุนแรงชาวยิว (Baruch Goldstein ที่ใช้ปืนกลยิงกราดเข้าไปในสุเหร่าในเมือง Bebron ใน ค.ศ 1994 และ Yigal Amir ที่สังหารนายกรัฐมนตรี Yitzhak Rabinb ของอิสราเอลมาจากกลุ่มหัวรุนแรงกลุ่มเดียวกัน) รวมทั้งกลุ่ม Sinri-kyu ในญี่ปุ่น
· การก่อการร้ายที่มีรัฐสนับสนุน (state-sponsored terrorism) กลุ่มก่อการร้ายที่มีรัฐ สนับสนุนถูกใช้โดยรัฐที่มีแนวนโยบานรุนแรงเป็นเครื่องทางนโยบายของตน รัฐที่ มักถูกเพ่งเล็งว่าให้สนับสนุนขบวนการก่อการร้ายได้แก่ อิหร่าน คิวบา อิรัก ลิเบีย เกาหลีเหนือ ซูดาน และซีเรีย ส่วนกลุ่มก่อการร้ายประเภทนี้ที่สำคัญ คือ กลุ่ม Hezballah (เชื่อว่าสนับสนุนโดยอิหร่าน) กลุ่ม Abu Nidal Organisation (เชื่อว่าซีเรีย ลิเบีย และอิรักเป็นผู้ให้การสนับสนุน) และพวก Red Army ชาวญี่ปุ่น (เชื่อกันว่าทำงานให้แก่ลิเบียในลักษณะที่มีสัญญาว่าจ้าง)
· การก่อการร้ายแนวซ้าย (left-wing terrorism) กลุ่มก่อการร้ายแนวซ้ายมุ่งมั่นที่จะทำลายระบบทุนนิยมและแทนที่ระบบนี้ด้วยระบบความมิวนิสต์หรือสังคมนิยม พวกนี้มักจะจำกัดความรุนแรงของตน โดยไม่ต้องให้ประชาชนที่พวกเข้าเห็นว่าเป็น เหยื่อของทุนนิยม ต้องได้รับเคราะห์กรรมจากปฏิบัติการก่อการร้ายของตน แต่จะมุ่งใช้วิธีการอย่างเช่น การลักพาตัวนายทุนด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม หรือทำลายอนุสาวรีย์กลุ่มฝ่ายซ้ายที่สำคัญได้แก่ Baader-Meinhof Group (เยอรมนี) Red Army (ญี่ปุ่น) wheather man (สหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษ 1970) และ Red Brigade (อิตาลี)
· การก่อการร้ายแนวขวาจัด (right-wing terrorism) กลุ่มก่อการร้ายแนวขวาจัดมักมิ ได้มีการจัดตั้งเป็นขบวนการชัดเจน และมักจะเป็นเรื่องของการจลาจลบนท้องถนนโดยพวกนาซีใหม่ในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงต้นทศวรรษ 1980 กลุ่มเหล่านี้ ซึ่งมีพวก “skinheade” เป็นนำสำคัญ มุ่งขจัดรัฐบาลเสรีประชาธิปไตยและจัดตั้ง ระบบอบฟาสต์ซิสต์ขึ้นมาแทน พวกนาซีใหม่จะทำร้ายผู้อพยพแตละผู้เข้าไปตั้งรก รากถิ่นฐานจากประเทศกำลังพัฒนา
การก่อการร้ายอาจแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน การแบ่งประเภทการก่อการร้ายในลักษณะที่กล่าวถึงต่อไป มิได้เป็นการกำหนดตายตัว แต่เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ในการทำความเข้าใจลักษณะและรูปแบบของการก่อการร้ายเท่านั้น· การก่อการร้ายแนวอนาธิปไตย (anarchist terrorism) ตั้งแต่ ค.ศ. 1870 ถึงประมาณ ค.ศ. 1920 การก่อการร้ายแนวอนาธิปไตยเป็นปรากฏการสำคัญประการหนึ่งในโลก นักปฏิวัติที่ต้องการล้มล้างรัฐบาลใช้วิธีการวางระเบิดลอบสังหารประมุขของรัฐ ประมุขของรัฐซึ่งได้รับเคราะห์กรรมคนหนึ่งก็คือ ประธานาธิบดี William McKinley ที่ถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1901 โดยหนุ่มผู้ลี้ภัยชาวฮังการีที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากความคิดอนาธิปไตย บางคนถือว่า กระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์อาจจะบ่งบอกถึงการกลับมาฟื้นตัวของกระแสความคิดแบบนี้การก่อการร้ายในลักษณะที่เป็นการพลีชีพ (suicide terror) เคยมีมาก่อนหรือไม่?
ปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้ความจำเป็นของการปฏิบัติการแบบพลีชีพมีน้อยลง แต่ปฏิบัติการแบบนี้กลับมีมากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เหตุผลส่วนหนึ่งของการใช้ยุทธิวีนี้ น่าจะได้แก่ความน่าหวาดหวั่นของปฏิบัติการพลีชีพ (หากไม่กลัวตายก็สามารถจะทำอะไรได้ทั้งนั้นและป้องกันยากมาก) และการทำให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องแม่นยำโดยไม่ต้องมีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่ปฏิบัติการพลีชีพจะเป็นวิธีการที่แพร่หลายยิ่งขึ้น
การก่อการร้ายที่เป็นการพลีชีพมิใช่ปรากฏการณ์ใหม่เสียที่เดียว การก่อการร้ายที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์มีลักษณะที่ต้องเป็นการเสี่ยงชีวิตโดยผู้ก่อการร้ายทั้งสิ้น ระเบิดที่พวกอนาธิปไตยในรัสเซียทำขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้องขว้างจากระยะใกล้ และมีโอกาสอย่างมากที่จะระเบิดขึ้นในมือของตนเอง พัฒนาการของอาวุธที่ซับซ้อนทันสมัยมากยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เปิดโอกาสให้ผู้ก่อการร้ายปฏิบัติการจากระยะไกลมากขึ้น และเมื่อความรู้สึกที่ว่าการเข่นฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นสิ่งไม่ถูกต้องเสื่อมคลายลงไป การเลือกเป้าหมายในการปฏิบัติการเพื่อหลีกเลี่ยงการเข่นฆ่าที่ไม่จำเป็น ก็มีความสำคัญน้อยลงด้วยปัจจุบันมีกลุ่มก่อการร้ายสำคัญอะไรบ้าง?
1) Abi Nidal Organisation (ANO)
2) Abu Sayyaf Group
3) Al-Aqsa Martyrs Brigades
4) Armed Islamic Group
5) Asbat al-Ansar
6) Aum Shinri-kyu
7) Basque Fatherland and Liberty (ETA)
8) Gama’a al-Islamiyya (Islamic Group)
9) Hamas (Islamic Resistance Movement)
10) Harakat ul-Mujahidin (HUM)
11) Hezballah (Party of God)
12) Islamic Movement of uzbekistan (IMU)
13) Jaish-e-Mohammed (JEM) (Army of Mohammed)
14) Al-jihad (Egyptian Islamic Jihad)
15) Kahane Chai (Kach)
16) Kurdistan Workers’ Party (PKK)
17) Lashkar-e-Tayyiba (LT) (Army of the Righteous)
18) Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE)
19) Mujahedin-e Khalq Organisation (MEK)
20) National Liberation Army (ELN)
21) Palestinian Islamic Jihad (PIJ)
22) Palestine Liberation Front (PLF)
23) Popular Front for the Liberation of Palestine (PFLP)
24) PELP-General Command (PFLP-GC)
25) Al-Qaida
26) Real IRA
27) Revolutionary Armed Forces of Colombia (FARC)
28) Revolutionry Nuclei (fromerly ELA)
29) Revolutionary Organisation 17 November
30) Revolutionary People’s Liberation Army/Front (DHKP/C)
31) Salafist Group for call and Combat (GSPC)0
32) Shining Path (Sendeo Luminoso, SL)
33) United Self-Defence Forces of Colombia (AUC)
34) Communist party of the Philippines/New People’s Army (CPP/NPA)
ปัจจุบันกลุ่มก่อการร้ายที่ถูกระบุแล้ว มีอยู่เป็นจำนวนมาก และจำนวนดังกล่าวนี้ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (สิงหาคม 2002) มีองค์การก่อการร้ายต่างประเทศ (foreign terrorist organisations) ดังนี้ [กรอบภาพ Bin Laden]สหรัฐอเมริกากับการก่อการร้าย [ภาพและเนื้อหารายละเอียด]ผลกระทบจากเหตุการณ์ 11 กันยายนยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกาอัฟกานิสถานและอิรักสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรต่อต้านการก่อการร้ายสหประชาชาติและการต่อต้านการก่อการร้าย [ภาพและเนื้อหารายละเอียด]ข้อมติสำคัญเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายที่เสนอโดยสหประชาชาติสมาชิกองค์การสหประชาชาติลและการต่อต้านการก่อการร้ายสถานการณ์ด้านการก่อการร้ายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ [ภาพและเนื้อหารายละเอียด]จากฟิลิปปินส์ถึงการระเบิดที่บาหลีและจาการ์ตาสหรัฐอเมริกากับการก่อการร้ายสถานการณ์ก่อการร้ายก่อนและหลัง 9/11
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 การก่อการร้ายได้เปลี่ยนแปลงไปมาก การก่อการร้ายในลักษณะที่ได้รับการอุปถัมภ์หรือสนับสนุนโดยรัฐ (state-spnsored terrorism) ได้เสื่อมคลายลงไปด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในการต่อต้านและการใช้มาตรการทั้งทางการทูตและด้านเศรษฐกิจต่อรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือผู้ก่อการร้าย การล่มสลายของสหภาพโซเวียตก็มีส่วนอย่างสำคัญต่อความเสื่อมคลายของการก่อการร้ายประเภทนี้ด้วย องค์การและเครือข่ายการก่อการร้าย เช่น Red Army Faction, Direct Action และ Communist Combatant Cells ในยุโรป หรือ Red Army ที่เป็นชาวญี่ปุ่น ถูกทำลายหรือสลายไป อย่างไรก็ดี ภายหลังสงครามเย็นที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของเครือข่ายการติดต่อข้ามชาติในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะในด้านการสื่อสารคมนาคม การค้า การเงินหรือการเดินทาง ได้เกิดสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของการก่อการร้ายในลักษณะที่เป็นเครือข่ายข้ามชาติ
ตัวอย่างการก่อการร้ายที่ดำเนินในลักษณะที่เป็นเครือข่ายข้ามชาติอย่างชัดเจนก็คือ al-Qaida ที่เชื่อกันว่าอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11 al-Qaida มีเครือข่ายปฏิบัติการอยู่ใน 60 กว่าประเทศ ค่ายผู้ก่อการร้ายที่เคยอยู่ในอัฟกานิสถานเป็นแหล่งพักพิงสำคัญ และปฏิบัติการข้ามชาติของเครือข่ายนี้ ก็มีการประสานงานโดยอาศัยทั้งตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ส่งข่าวและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ E-mail, internet chat rooms, video tapes ไปจนถึง CD-ROMs เครือข่ายการก่อการร้ายได้อาศัยเทคโนโลยี่เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อวัตถุประสงค์ของการนำการฝึกอบรม และการขนส่งในลักษณะต่างๆ ในสภาวะแวดล้อมข้ามชาติที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว (รวมทั้งการมีประชากรไม่น้อยกว่า 140 ล้านคนพำนักอยู่นอกประเทศที่เป็นภูมิลำเนาเดิมของ ซี่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อและปฏิบติการของขบวนการก่อการร้ายได้อย่างสำคัญ) เครือข่ายการก่อการร้ายในปัจจุบันมีความยืดหยุ่น เชื่อมโยงกัน และดำเนินงานข้ามชาติอย่างแท้จริง
ปัจจุบันการก่อการร้ายจึงมีปฏิบัติการทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยมีการเชื่อมโยงกันทั้งในแง่ของการจัดหาทุน การแลกข้อมูลและการข่าว การฝึกอบรม การขนส่ง การวางแผน และการปฏิบัติการก่อการร้าย องค์การก่อการร้ายที่ปฏิบัติการเฉพาะในเขตแดนประเทศของตนจึงสามารถจะส่งผลกระทบระดับกว้างออกไปได้ ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 2001 สมาชิกกลุ่ม IRA 3 คน ถูกจับในโคลัมเบีย ซึ่งเชื่อว่าพวกนี้ให้การฝึกอบรมองค์การ FARC ในด้านการวางระเบิดก่อการร้ายในเขตเมอง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ ความเชื่อมโยงระหว่าง al-Qaida และกลุ่มก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากเชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นรูปธรรมดังกล่าวนี้แล้ว ยังความเชื่อมโยงในแง่ของการส่งเสริมด้านอุดมการณ์และการเสริมสร้างความพยายามของกันและกันในการสร้างภาพลักษณ์ระหว่างชาติให้แก่เป้าหมายทางอุดมการณ์ดังกล่าว
ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งของการก่อการร้ายในปัจจุบัน ก็คือการเข้าถึงอาวุธทำลายล้างสูง (wapons of mass-destruction) สหรัฐอเมริกาถือว่า อาวุธชนิดนี้มีผลคุกคามร้ายแรงต่อทั้งตนเองและประชาคมโลกโดยรวม ความเป็นไปได้ของการใช้อาวุธเคมี ชีวภาพ นิวเคลียร์ หรือระเบิดที่มีอำนาจทำลายล้างสูง มีมากยิ่งขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่าน การมีเทคโนโลยีเหล่านี้และการที่นักวิทยาศาสตร์หรือผู้เชี่ยชาญบางคนเต็มใจให้ความร่วมมือกับผู้ก่อการร้ายสามารถจะได้มาผลิต ติดตั้งและใช้
อาวุธทำลายล้างสูงต่อดินแดนสหรัฐหรือประเทศอื่นๆ ได้ แม้ว่าการโจมตีโดยเทคโนโลยีระดับสูง เช่น
ต่อเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร มีโอกาสความเป็นไปได้มากขึ้นพร้อมๆ กับการลดน้อยลงไปของการโจมตีด้วยอาวุธธรรมดาในรูปแบบเดิม แต่ความเป็นไปได้ที่น่าหวาดหวั่นที่สุดขณะนี้คือ การโจมตีด้วยอาวุธทำลายล้างสูงนี่เอง
สหรัฐอเมริกาเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายมานานแล้ว เฉพาะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหรัฐอเมริกาได้เผชิญกับการก่อการร้ายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปองร้ายต่อตัวบุคคล การทำลายอาคารสถานที่ หรือทรัพย์สินอื่นๆ มาแทบนับครั้งไม่ถ้วน ปฏิบัติการก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกาในช่วงศตวรรษที่แล้วเริ่มตั้งแต่การลอบสังหารประธานาธิปดี William McKinley ใน ค.ศ. 1901 ปฏิบัติการต่อสถานที่สำคัญโดยเฉพาะย่านธุรกิจและการเงินของมหานครนิวยอร์คก็มิใช่เพิ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือการระเบิดตึก World Trade Centre ใน ค.ศ. 1993 หากแต่เป็นการระเบิดบริเวณสี่แยกถนน Wall และ Broad โดยพวกอนาธิปไตที่ใช้รถม้าบรรทุกระเบิดไดนาไมต์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 1902 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 300 คน นอกจากนั้น ก่อนจะถึงเหตุการณ์ 9/11 สหรัฐอเมริกาก็ประสบกับปฏิบัติการรุนแรงมาแล้ว เช่น การระเบิดอาคารใน Oklahoma City ค.ศ. 1995 การระเบิดสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในแทนซาเนียและเคนยาใน ค.ศ. 1998 และการระเบิดเรือรบ USS Cole ในเยเมน ค.ศ. 2000ยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา
เหตุการณ์ 9/11 ย่อมเป็นแรงผลักดันสำคัญของการปรับเปลี่ยนแนวทางนโยบายของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม บริบทสำคัญของยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายที่รัฐบาลสหรัฐได้กำหนดขึ้น คือ ภูมิทัศน์ของโลกและลักษณะการคุกคามของการก่อการร้ายที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง เป้าหมายของยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ ได้แก่การหยุดยั้งการโจมตีในลักษณะของการก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกา ต่อพลเมืองและผลประโยชน์สหรัฐ รวมทั้งต่อพันธมิตรและมิตรประเทศของสหรัฐอเมริกาทั่วโลก นอกจากนั้น ยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายยังมีเป้าหมายที่จะสร้างสภาวะแวดล้อมระหว่างชาติที่จะไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ก่อการร้ายและผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย [คำพูดในกรอบของประธานาธิบดี George W Bush]
ยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการ้านของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่กำหนดไว้ในเอกสารความยาว 30 หน้า เรื่อง “National Strategy for Combating Terorism” ที่ประกาศโดยทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2003 กำหนดขึ้นจากพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของการก่อการร้ายดังที่กล่าวแล้วเป็นสำคัญ นั่นคือ ความเข้าใจที่ว่า การก่อการร้ายในปัจจุบันมีลักษณะเป็นการดิเนินงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้นทุกที นอกจากนั้น การสนับสนุนจากรัฐก็เสื่อมคลายลง และเป็นขบวนการที่กระจัดกระจายมากขึ้น จนกล่าวได้ว่าองค์การก่อการร้ายไม่เป็นที่รู้จักหรือมีตัวตนชัดเจน โดยมีแรงจูงใจหรือเป้าหมายในทางศาสนาและอุดมการณ์โดยไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐหนึ่งรัฐใดโดยเฉพาะ“เราจะต้องนำการต่อสู้ไปที่ศัตรูโดยตรง ขัดขวางทำลายแผนการของพวกนี้และเผชิญกับการคุกคามที่เลยร้ายที่สุด
ก่อนที่จะปรากฏขึ้น ในโลกที่เราเข้ามาผืนอยู่นี้นั้น หนทางเดียวที่จะนำไปสู่ความปลอดภัย คือ หนทางแห่งการลงมือ
ปฏิบัติการ และประเทศนี้ก็จะลงมือปฏิบัติ”
ประธานาธิบดี George W Bush
1 June 2002

1) จะต้องเอาชนะผู้ก่อการร้ายและองค์การก่อการร้าย (defeat terrorists and terrorist organisations) เป้าหมายดังกล่าวนี้เน้นที่การเอาชนะองค์การก่อการร้ายที่มีขอบเขตปฏิบัติการในระดับโลก โดยใช้เครื่องมือทางการทูต เศรษฐกิจ สารสนเทศ การบังคับใช้กฎหมาย การทหาร การเงิน ข่าวกรอง และเครื่องมืออื่นๆ ทั้งทางตรงและโดยอ้อม ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้สหรัฐอเมริกาจะต้องอาศัยพันธมิตรและมิตรประเทศของตน เพื่อทำลายแหล่งพักพิง สภาวะผู้นำการควบคุมบังคับบัญชา และการติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนทางวัตถุ และการเงิน องค์ประกอบหรือวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการเอาชนะองค์การก่อการร้ายประกอบด้วย
· ระบุตัวผู้ก่อการร้ายและองค์การก่อการร้าย (identify terrorists and terrorist organisations) เพื่อให้รู้ว่า “ศัตรูคือใคร” โดยมุ่งไปที่กลุ่มที่มีอันตรายที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีเครือข่ายการดำเนินงานระดับโลก และมีความมุ่งมั่นที่จะมีและใช้อาวุธทำลายล้างสูง
· ระบุแหล่งผู้ก่อการร้ายและองค์การก่อการร้าย (locate terrorists and terrorist organisations) โดยเฉพาะด้วยการหาทางเข้าถึงองค์การก่อการร้ายเพื่อให้รู้ แหล่งพำนักผู้นำ แผนการ ความตั้งใจ รูปแบบการดำเนินงาน การเงิน การสื่อสาร การหาสมาชิกและอื่นๆ โดยเฉพาะด้วยการอาศัยความร่วมมือของพันธมิตรและมิตรประเทศของสหรัฐอเมริกา
· ทำลายผู้ก่อการร้ายและองค์การก่อการร้าย (destroy terrorists terrorist organisations) ด้วยการจับกุมคุมขัง การใช้กำลังทางทหาร และการใช้ทรัพยากรเฉพาะทางด้านข่าวกรอง ตลอดจนความร่วมมือระหว่างชาติ เพื่อหยุดยั้งแหล่งทุนสนับสนุนการก่อการร้าย
2) ปิดกั้นโอกาสที่ผู้ก่อการร้ายจะได้รับการอุปถัมภ์ สนับสนุน และแหล่งพักพิง (deny sponsorship, support snd sanctuaries to terrorists) การปิดกั้นโอกาสเหล่านี้จะเป็นการปิดหนทางที่ผู้ก่อการร้ายจะดำรงอยู่ มีกำลัง มีการฝึกอบรม มีการวางแผน และปฏิบัติการโจมตี องค์ประกอบหรือวัตถุประสงค์เฉพาะของเป้าหมายนี้ ได้แก่
· ยุติการอุปถัมภ์การก่อการร้ายได้รัฐ (end the state sponsorship of terrorism) ปัจจุบันสหรัฐอเมริการะบุ 7 ประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย ได้แก่ อิหร่าน อิรัก ซิเรีย ลิเบีย คิวบา เกาหลีเหนือ และซูดาน รัฐบาลสหรัฐยืนยันจะ ถอนชื่อประเทศที่ยอมดำเนินมาตรการภายใต้กฎหมายและนโยบายสหรัฐออกจากบัญชีดังกล่าว
· กำหนดและจรรโลงมาตรฐานระหว่างชาติว่าด้วยความรับผิดชอบเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย (establish and maintain an international standard with regard to combating terrorism) นอกจากจะใช้ความกดดันเพื่อยุติการอุปถัมภ์การ ก่อการร้ายโดยรัฐแล้ว สหรัฐอเมริกาจะสนับสนุนมาตรฐานใหม่ที่เข้มงวดสำหรับ ทุกรัฐ สำหรับเผชิญกับสงครามระดับโลกเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย รัฐที่มีสิทธิแห่งอธิปไตยของตนจะต้องมีความรับผิดชอบแห่งอธิปไตนั้นด้วย ข้อมติ 1373 แห่ง คณะมนตรีความมั่นคง สหประชาชาติ (UNSCR 1373) กำหนดภาระหน้าที่ของรัฐ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายไว้อย่างชัดเจน
· เสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งความพยายามระหว่างประเทศในการต่อสู้กับการก่อการร้าย (strengthen and sustain the international effort to fight terrorism) การต่อสู้กับการก่อการร้ายมิใช่ภารกิจของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ความสำเร็จในการต่อสู้อยู่ที่การ อาศัยพันธมิตรระหว่างชาติ (international coalition) ที่เป็นแนวร่วมเข้มแข็งในการต่อต้านการก่อการร้าย รัฐบาลสหรัฐจะดำเนินการร่วมกับชาติที่เต็มใจร่วมมือและมีความสามารถ (working with willing and able states) เสริมสร้างความสามารถให้แก่รัฐที่อ่อนแอ (enabling weak states) โน้มน้าวรัฐที่ยังไม่เต็มใจร่วมมือ (persuading unwilling states) และบังคับรัฐที่ไม่เต็มใจร่วมมือ (compelling unwilling states)
· ขัดขวางและทำลายการสนับสนุนด้านวัตถุแก่ผู้ก่อการร้าย (interdict and disrupt material support for terrorists) พร้อมๆ กับการคาดหวังให้รัฐต่างๆ ปฏิบัติตามภาระ หน้าที่ของตน สหรัฐอเมริกาก็พร้อมที่จะสกัดกั้นการติดต่อของผู้ก่อการร้ายทั้งทาง บก อากาศ ทะเล และทางเครือข่าย internet เพื่อมิให้พวกนี้เข้าถึงสมาชิกใหม่ แหล่งทุนเครื่องมืออุปกรณ์ อาวุธและข่าวสาร
· ขจัดแหล่งพักพิงของผู้ก่อการร้าย (eliminate terorist sanctuaries havens) ส่วนสำคัญของการดำเนินงานเพื่อวัตถุประสงค์นี้ คือ การส่งเสริมมาตรฐานพฤติกรรมสำหรับชาติต่างๆ และการมีระบบกฎหมายของชาติในการขจัดแหล่งพักพิงของผู้ก่อการร้ายระหว่างชาติและพิจารณาแผนดำเนินงานเพื่อให้ไม่ผู้ก่อการร้ายเข้าถึงแหล่งเหล่านี้
3) ลดเงื่อนไขพื้นฐานที่ผู้ก่อการร้ายต้องการใช้เป็นประโยชน์ (diminish the underlying conditions that terrorists seek to exploit) โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ธรรมมาภิบาล และหลักนิติธรรม องค์ประกอบหรือวัตถุประสงค์เฉพาะแห่งเป้าหมายนี้ ได้แก่
ยุทธศาสตร์สหรัฐวางน้ำหนักไว้ที่การจัดการกับขบวนการก่อการร้ายในแง่ของการมีแหล่งพักพิง (sanctuaries) สภาวะผู้น้ำ (leadership) การบังคับบัญชา ควบคุม และสื่อสาร (command, control and communications) การสนับสนุนด้านวัตถุ (material support) และการเงิน (finances) ในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ เพื่อเอาชนะการก่อการร้าย (ซึ่งมิได้หมายถึงการให้ฝ่ายศัตรูยอมจำนนเช่นในสงครามธรรมดา หากแต่จะต้องอาศัยความพยายามอย่างต่อเนื่องในการจำกัดขอบเขตและความสามารถในการดำเงินงานขององค์การก่อการร้ายให้แคบลงทุกที โดดเดี่ยวองค์การเหล่านี้ในภูมิภาคของตน และทำลายให้ได้ในที่สุด) สหรัฐอเมริกากำหนดเป้าหมายไว้ 4 ด้านด้วยกัน เรียกว่า “4 D” (Defeat, Deny, Dimininish, Defend)· เป็นหุ้นส่วนกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่รัฐที่อ่อนแอ และป้องกันการเกิดหรือเกิดขึ้นใหม่ของการก่อการร้าย (partner with the international community to strengthen weak states and prevent the [re] emergence of terrorism) หลักการสำคัญของวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ คือ เสริมสร้างความเข้มแข็งและพื้นฟูรัฐให้สามารถปกป้องดูแลประชากรของตนในด้านสวัสดิการ สุขภาพ ความอยู่ดี กินดี และเสรีภาพ และควบคุมดูแลพรมแดนของตน·
4) ปกป้องพลเมืองและผลประโยชน์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและในต่างประเทศ (Defend US citizens and interests at home and abroad) การปกป้องประชากร ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ รวมทั้งหลักการประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา องค์ประกอบหรือวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับเป้าหมายนี้ ได้แก่
· ปฏิบัติยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความมั่นคงแห่งดินแดน (Emplement national strategy for homeland security) มีการจัดตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งดินแดน (Department of Homeland Security) เพื่อระดมและจัดพลังในชาติเพื่อปกป้องให้ดินแดนสหรัฐพ้นจากการโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย โดยเฉพาะด้วยการเสริมสร้างความสามารถใน เชิงวิเคราะห์ของ FBI และการกลับไปใช้ประโยชน์จากหน่วยคุ้มครองชายฝั่ง (cast guard) รวมทั้งการป้องกันการโจมตีของผู้ก่อการ ร้ายโดยอาศัยอาวุธทำลายล้างสูงด้วยระบบตรวจสอบและวิธีดำเนินการที่ดีขึ้น และการประสานการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ
· รับรู้และเข้าใจเขตอาณาบริเวณที่เกี่ยวข้อง (Attain domain awareness) กุญแจสำคัญของการป้องกันชาติอยู่ที่การรับรู้และเข้าใจกิจกรรมความเคลื่อนไหวเหตุการณ์ และแนวโน้มต่างๆ ภายในเขตอาณาบริเวณ (dmain) ที่กำหนด (อากาศ พื้นดินทะเล ระบบเครือข่ายข้อมูลการการสื่อสาร ซึ่งสามารถคุกคามความปลอดภัย ความมั่นคงหรือสภาพแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาและพลเมืองสหรัฐ
· เสริมสร้างมาตรการสร้างหลักประกันแก่ทั้งโครงสร้างทางกายภาพและที่อาศัยฐานข้อมูลที่สำคัญยิ่งทั้งในและต่างประเทศ (Enhance mesasures to ensure the integrity, reliability, and availability of critical hysical and information-based infrastructures at home and abroad) ความเข้มแข็งของชาติอยู่ที่ระบบการขนส่ง ระบบการส่งกำลังบำรุง และระบบข้อมูลข่าวสารที่ครอบคลุมกว้างขวาง ซึ่งเปิดโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการค้าของโลก โครงสร้างพื้นฐานและระบบที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจสหรัฐและผลประโยชน์แห่งชาติผนึกรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมักจะอาศัยระบบและโครงสร้างนอกประเทศที่กระจายอยู่ทั่วโลก ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ยืดเยื้อยาวนาน หรือขนาดใหญ่ แม้กระทั่งกำลังทางทหารสหรัฐก็ต้องอาศัยบางส่วนของโครงสร้างและเครือข่ายที่อยู่รอบโลกเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในต่างประเทศ
· บูรณาการมาตรการปกป้องพลเมืองสหรัฐในต่างประเทศ (Integrate measuresto protect US citizens abroad) การปกป้องพลังงานเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะต้องไปด้วยกันกับความมั่นคงปลอดภัยของพลเมืองสหรัฐในต่างประเทศ ลักษณะการคุกคามต่อพลเมืองสหรัฐได้ขยายตัวออกไปอย่างมาก พลเมืองสหรัฐที่ พำนักหรือเดินทางในต่างประเทศอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นเป้าหมายของ การก่อการร้าย
· สร้างหลักประกันความสามารถในการจัดการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นบูรณาการ (Ensure an integrated incident management capability) การมีแผนงานและการเตรียมการที่เข้มแข็ง รวมทั้งการสนองตอบได้อย่างทันทีทันใด ยังคงเป็นกุญแจ สำคัญในการลดปฏิบัติการก่อการร้าย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความ พยายามในเรื่องนี้ต้องอาศัยการประสานงานไม่เพียงแต่ในส่วนบนสุดของรัฐบาลกลางเท่านั้น แต่รวมไปถึงระดับปฏิบัติการหรือระดับยุทธิวิธีด้วย ซึ่งจะทำให้การตอบโต้หรือการเข้าแทรกแซงอาจดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานหลากหลาย ที่ปฏิบัติการโดยเอกเทศหรืออย่างมีการประสานงานกัน การตอบโต้อาศัยการวางแผนจัดการเหตุการณ์ การมีความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน และการ ประสานงานที่อาศัยการตัดสินใจที่ฉับไวและมีประสิทธิภาพอีกทอดหนึ่ง กล่าวโดยสรุป ยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกามีมติหรือองค์ประกอบหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่ ด้านข่าวกรอง (intelligence component) ซึ่งรัฐบาลสหรัฐกำลังพยายามผนึกงานข่าวกรองภายในและต่างประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้านการบังคับให้กฎหมาย (law enforcement) ซึ่งรวมไปถึงความร่วมมือกับต่างประเทศในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น โครงการความร่วมมือที่ดำริโดย FBI กับสิงโปร์ มาเลเซีย ประเทศไทย และอินโดนีเซีย ด้านเศรษฐกิจ (economic component component) ซึ่งมีทั้งในเชิงรุก (โดยเฉพาะที่เป็นการให้การช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจแก่ต่างประเทศ) และการตั้งรับ (การปกป้องเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดแก่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ) ด้านการต่อต้านยาเสพติด (anti-drug component) เพื่อตัดเส้นเลือดสำคัญด้านเงินทุนของผู้ก่อการร้าย ตลอดจนด้านการทหาร (military component) ดังเช่นที่ปรากฏในสงครามในอิรักและปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถาน ในสหรัฐอเมริกาเองนั้น จุดเน้นไปอยู่ที่ความมั่นคงแห่งดินแดน (homeland security) มากยิ่งขึ้น หน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งขึ้น คือ กระทรวงความมั่นคงแห่งดินแดน (homeland security) มากยิ่งขึ้น หน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งขึ้น คือ กระทรวงความมั่นคงแห่งดินแดน เป็นการจัดรูปแบบองค์การขึ้นใหม่ในระดับรัฐบาลกลางที่ใหญ่โตที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ ด้วยการผนวกเอาหน่วยงานรัฐบาล 22 แห่ง และกำลังคนประมาณ 179,000 คน เข้าไว้ในหน่วยงานเดียวกัน โดยมีหน้าที่ประสานมาตรการภายในเพื่อตอบโต้การก่อการร้าย งบประมาณของหน่วยงานนี้ประเท่ากับร้อย 10 ของงบประมาณห้องกันประเทศเลยทีเดียว ในช่วงปีงบประมาณ 2003 นั้น ร้อยละ 44 ของตำแหน่งงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย และร้อย 48 ของงบประมาณด้านการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลาง ถูกโอนไปที่หน่วยงานนี้
เอาชนะสงครามความคิด (win the war of ideas) เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ว่าปฏิบัติการ ก่อการร้ายเป็นสิ่งชั่วร้าย และไม่ถูกทำนองคลองธรรม และให้มั่นใจได้ว่าเงื่อนไข และอุดมการณ์ที่ส่งเสริมการก่อการร้าย จะไม่สามารถเติบโตแพร่ขยายในชาติใดได้ แต่จะกระต้นส่งเสริมความหวังและปฎิธานแห่งการมีเสรีภาพในชาติที่ปกครองโดยผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายข้ามชาติ
การตอบโต้ของสหรัฐอเมริกาภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน
อัฟกานิสถาน การรณรงค์ต่อต้านอาศัยการระดมพลังสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในมาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมาย (law enforcement component) และด้านข่าวกรอง (intelligence component) เพื่อขจัดแหล่งหลบซ่อนและเครือข่าวการเงินของขบวนการ al-Qaida สหรัฐอเมริกาได้เปิดยุทธการทางทหารเรียกว่า “Operation Enduring Fredom” ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2001 ต่อรัฐบาล Tliban ในอัฟกานิสถาน ซึ่งให้ที่พำนักแก่ al-Qaida มาตั้งแต่ ค.ศ. 1996 และที่มั่นของ al-Qaida ในประเทศต่างๆ รวม 136 ประเทศได้เสนอความช่วยเหลือทางทหารในรูปแบบต่างๆ แก่สหรัฐอเมริกา เช่น สิทธิในการบินผ่านน่านฟ้าและการลงแวะพักตลอดจนการให้ที่พำนักแก่กองกำลังสหรัฐ
ผลจากการรณรงในยุทธการ “Operation Enduring Freedom” ทำให้ระบบปกครอง Taliban ถูกโค่นอำนาจ ค่ายฝึกของ al-Qaida ทั้งหมดเท่าที่ทราบถูกทำลายหมด และผู้น้ำ Taliban และ al-Qaida จำนวนมากถูกสังหารหรือถูกจับกุม ในเดือนมีนาคม 2002 กองกำลังภาคพื้นดินจากสหรัฐอเมริกาและจากชาติอื่นๆ อีก 5 ชาติได้เริ่มยุทธการ “Operation Anaconda” ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกวาดล้างแหล่งหลบซ่อนของ al-Qaida ที่อยู่ห่างไกล และเพื่อบดขยี้กำลังที่ยังหลงเหลือของขบวนการนี้ กำลังทหารและด้านข่าวกรองสหรัฐในอัฟกานิสถานและที่อื่นๆ อ้างว่า ได้สังหารหรือจับกุมได้มากกว่า 1 ใน 3 ของแกนน้ำ al-Qaida แต่ผู้นำระดับสูงสุดของขบวนการ คือ Osama bin Laden และ Ayman al Zawahiri รวมทั้งผู้นำ Taliban คือ Mullah Mohammed Omar ยังคงหลบหนีโดยไม่ทราบว่าหลบซ๋อนหรือพำนักอยู่ที่ใด
ภายหลังการรณรงค์ทางทหาร สหรัฐอเมริกาก็ได้ระดมความร่วมมือจากนานาชาติในการให้ความชข่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการฟื้นฟูบูรณอัฟกานิสถาน ในช่วงปีงบประมาณ 2002ข2003 รัฐบาลสหรัฐได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศนี้ปีละ 900 บ้านเหรียญสหรัฐ สภาคองเกรสได้ออกรัฐบัญญัติ “Afghanistan Freedom Support Act” ซึ่งอนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 3.47 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับช่วงปีงบประมาณ 2003-2006
อัฟกานิสถานกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศในรอบ 40 ปี สหรัฐอเมริกาและรัฐบาลอัฟกานิสถานกำลังพยายามระดมทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากมิตรประเทศ และสร้างสภาพเงื่อนไขภายในประเทศที่จะเกื้อหนุนต่อการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดจะมีขึ้นใน ค.ศ. 2004 ตั้งแต่เริ่มยุทธการกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายในอัฟกานิสถานมีการส่งอาหารไปช่วยเหลือแก่ประเทศนี้แล้วกว่า 4 แสนเมตริกตัน นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกายังไม้ช่วยซ่องถนน สะพาน บ่อน้ำ คลอง เขื่อน และระบบการส่งน้ำจำนวนมาก และได้สร้างคลีนิค โรงพยาบาล โรงเรียน ตลอดจนเครือข่ายสถานีวิทยุแห่งชาติขึ้นใหม่ สหรัฐเอมริกาช่วยเหลือในการก่อตั้ง ฝึกอบรมและจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่กองทัพแห่งชาติใหม่ของอัฟกานิสถาน และได้ช่วยฝึกอบรมตำรวจ ผู้พิพากษา และอัยการ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานยุติธรรมแก่ประเทศนี้ด้วย
การตอบโต้ของสหรัฐอเมริกาภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ครอบคลุมกว้างขวาง และเด็ดขาด ทางการสหรัฐระบุความรับผิดชอบในการโจมตีครั้งนี้ไปที่ Osama bin Laden และขบวนการ al-Qaida การรณรงค์เริ่มต้นอย่างเต็มรูปแบบโดยใช้องค์ประกอบทางอำนาจทั้งในระดับชาติและนานาชาติเพื่อไล่ล่าขบวนการนี้และองค์การที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเครือข่ายสนับสนุนทั้งหลาย
ในการแสวงหาความร่วมมือกับนานาชาติ สหรัฐอเมริกาได้เร่งขยายความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข่าวกรองและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อถอนรากถอนโคนเครือข่ายการก่อการร้าย เป็นที่ปรากฏชัดยิ่งขึ้นเมื่อถึงขณะนี้ว่า เครือข่ายเหล่านี้ไม่เพียงแต่ดำเนินการอยู่ในดินแดนที่ให้พวกนี้ได้รับการต้อนรับ หรือรู้ว่าจะได้รับการปล่อยปละให้อยู่ได้เท่านั้น แต่ยังดำเนินการอยู่ในอีกหลายๆ แห่ง รวมทั้งยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเองด้วย การระดมทุนและการดำเนินงานด้านการธนาคารขององค์การก่อการร้ายอยู่ในประเทศตะวันตกเป็นสำคัญ
เมื่อถึงช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนต่อกับต้นเดือนธันวาคม 2002 การพยายามอย่างหนักในการบังคับใช้กฎหมายด้วยความร่วมมือกับนานาประเทศ ทำให้สามารถจับกุมผู้ก่อการรายและผู้สนับสนุนในกว่า 100 ได้กว่า 3,000 คน และอายัดทรัพย์สินของผู้ก่อการร้ายในบัญชีธนาคารกว่า 600 รายการ ทั่วโลกมูลค่ากว่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้ง 36 ล้านเหรียญสหรัฐเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเอง
ความคลี่คลายที่นับว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีประการหนึ่งในการต่อสู้กับการก่อการร้ายก็คือรัฐที่เคยถูกระบุว่าให้การสนับสนุการก่อการร้ายบางรัฐ ยอมที่จะนำตนเองออกห่างจากกลุ่มหัวรุนแรงที่รัฐเหล่านี้เคยให้การอุปถัมภ์ในอดีต หรือมิฉะนั้นก็แสดงตนว่า ไม่ยอมเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายสากลโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น ลิเบียได้ “ส่งสัญญาณ” แล้วว่า ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับการก่อการร้ายอีกและเสนอที่จะชดให้ชแก่ครอบครัวของเหยื่อการระเบิดเครื่องบิน Pan AM 103 อีกประเทศหนึ่ง คือ ซูดาน ที่ได้จับกุมสมาชิก al-Qaida และสั่งปิดค่ายฝึกขอบขบวนการนี้ที่อยู่ในดินแดนของตน ทั้งลิเบียและซูดานเสนอที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับกิจกรรมของ al-Qaida กับทางการสหรัฐ นอกจากนั้น ประมาณ 2 เดือนภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เกาหลีเหนือได้ลงนามนอนุสัญญาระหว่างประเทศ 2 ฉบับ คือ “Internation Convention against the Financing of Terrorism” ค.ศ. 1999 และ “Internation Convention against the Taking of Hostages” ค.ศ. 1997
อย่างไรก็ตาม รายงานของกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยแนวโน้มการก่อการร้ายสากล ชื่อ patterns of Global Terrorism 2001 (Patterns 2001) ซึงประกาศออกมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2002 ยังคงระบุ 7 ประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย ได้แก่ คิวบา อิหร่าน อิรัก ซีเรีย เกาหลีเหนือ ซูดาน และลิเบีย รายงานระบุว่า ลิเบียและซูดานนั้นใกล้จะถูกลบชื่อออกจากบัญชีแล้ว และยังตั้งข้อสังเกตว่า อิหร่าน เกาหลีเหนือ และซีเรีย ก็ได้เริ่มเคลื่อนไหวบ้างแล้วในการให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้าย ซีเรียได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในการสืบสวนขนวนการ al-Qaida และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ ในขณะที่อิหร่านก็ได้ให้การสนับสนุนบางประการแก่ความพยายามในการโค่นล้มระบอบ Taliban และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การนำของนาย Hamid Karzai ขึ้นในอัฟกานิสถาน กระนั้นก็ตาม อิหร่านก็ยังถูกระบุไว้ในรายงานว่า เป็นรัฐผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้ายรายสำคัญ และทั้งอิหร่านและซีเรียก็ยังคงสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างเช่น HAMAS และ Hizballah ที่ต่อต้านกระบวนการสันติภาพตะวันออกกลาง ความหวังของรัฐบาลอเมริกันที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงในท่าทีของอิหร่านลดน้อยลงไปอีกเมื่อประธานาธิบดี Mohmmed Khatame และพันธมิตรที่มีนโยบายปฏิรูปของเขาสามารถปรับเปลี่ยนท่าทีเมื่อใดก็ได้
Patters 2001 ยังกล่าวถึงเยเมนและเลบานอน ซึ่งแม้ว่าจะมิได้อยู่ในบัญชีผู้ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย แต่ก็ได้ปล่อยให้กลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่มดำเนินการอย่างถูกกฎหมายในดินแดนของตน ยิ่งไปกว่านั้น เลบานอนยังเห็นว่า ปฏิบัติการของกลุ่ม Hizballah ต่อเป้าหมายในอิสราเอลเป็นการกระทำที่ชอบธรรม โดยถือว่าเป็น “กิจกรรมต่อต้าน” (resistance activities)
อิรักและเกาหลีเหนือ ความกังวลสำคัญของรัฐบาลสหรัฐดูจะอยู่ที่อิรักและเกาหลีเหนือความกังวลดังกล่าวนี้มาจากความเชื่อเกี่ยวกับโครงการผลิตอาวุธทำลายล้างสูงของประเทศทั้งสองนี้มากกว่าการสนับสนุนที่ทั้ง 2 ประเทศให้แก่ขบวนการก่อการร้าย ปัญหาของเกาหลีเหนืออยู่ที่ความตกลง ค.ศ. 1994 กับสหรัฐอเมริกเพื่อระงับโครงการพัฒนาทางนิวเคลียร์มีแนวโน้มที่จะถูกรื้อทำลายลง เกาหลีเหนือได้ประกาศว่าจะรื้อฟื้นการดำเนินงานของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เข้าใจกันว่าสามารถจะผลิตพลูโตเนียมสำหรับผลิตระเบิดได้ปีละ 1-2 ลูก อย่างไรก็ แม้ว่าประเทศนี้จะเป็นหนึ่งในสามประเทศที่ถูกประธานาธิบดีบุชระบุเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2002 ว่าเป็น “axis of evil” (อีก 2 ประเทศ คือ อิหร่านและอิรัก) แต่ความกังวลหลักของสหรัฐอเมริกาดูจะอยู่ที่อิรักมากกว่า
ประธานาธิบดีบุชได้เร่งรัดให้สหประชาชาติเผชิญหน้าและปลดอาวุธอิรักตั้งแต่เดือนกันยายน 2002 และในเดือนต่อมาสภาคองเกรสได้ให้อำนาจแก่รัฐบาลประธานาธิบดีในการใช้กำลังต่ออิรักในการป้องกันผลประโยชน์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และดำเนินการเพื่อให้ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเกี่ยวกับอิรักมีผลบังคับให้อย่างจริงจัง หลังจากนั้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน คณะมนตรีความมั่นคงก็ผ่านข้อมติให้อิรักยอมปลดอาวุธ มิฉะนั้นจะต้องเผชิญกับ “ผลร้ายแรงที่จะตามมา” (serious consequences)
คณะผู้ตรวจสอบอาวุธของสหประชาชาติ ซึ่งมีนาย Hans Blix เป็นหัวหน้า ได้เริ่มดำเนินการตามมติของคณะมนตรีความมันคงในช่วงปลายเดือนนั้นเอง ในเดือนต่อมาอิรักก็ได้ประกาศแก่คณะผู้ตรวจสอบอาวุธว่า ตนไม่มีอาวุธทำลายล้างสูง แต่รัฐบาลสหรัฐก็ยังไม่เชื่อ และยังคงแสดงท่าทีต้องการใช้กำลังต่ออิรัก ก่อนหน้าที่สหรัฐอเมริกาจะตัดสินใจทำสงครามกับอิรักในเวลาต่อมานั้นท่าที่ของรัฐบาลสหรัฐถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง รวมทั้งจากชาวอเมริกันและพันธมิตรบางส่วนที่หวั่นเกรงว่า การเข้าแทรกแซงทางทหารของสหรัฐอเมริกาเพื่อโค่นล้ม Saddam Hussein จะสร้างความร้าวฉานขึ้นในบรรดาพันธมิตรสหรัฐและทำให้การต่อสู้ของนานาชาติกับขบวนการ al-Qaida ต้องอ่อนแอลง
นาย Hans Blix หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบอาวุธในอิรักได้รายงานแก่คณะมนตรีความมั่นคงในช่วงต้น ค.ศ. 2003 ว่า แม้ว่าอิรักจะไม่ยอมปลดอาวุธตามข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ แต่ก็ได้ดำเนินมาตรการในเชิงบวกบ้างแล้ว ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระแสต่อต้านสงครามก็เริ่มแพร่ขยายกว้างออกไป โดยเฉพาะในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ คนจำนวนล้านๆ ได้ออกมาแสดงพลังในมหานครต่างๆ ทั่วโลกเพื่อประท้วงการข่มขู่ของสหรัฐอเมริกาที่จะใช้กำลังจัดการกับอิรัก และก่อนหน้าที่จะมีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงในวันที่ 7 มีนาคม ฝรั่งเศส เยอรมนี และรัสเซีย ก็ออกคำแถลงร่วมกันว่า “เราจะไม่ยอมให้มีการผ่านข้อมติที่จะเป็นการอนุมัติการใช้กำลัง” ต่ออิรัก พร้อมกับเรียกร้องให้อิรักให้ความร่วมมือที่เข้มแข็งจริงจังยิ่งขึ้นในการเงตรวจสอบอาวุธ
ในท่ามกลางกระแสคัดค้านต่อต้านที่มีขึ้นอย่างกว้างขวางดังกล่าวนี้ ประธานาธิบีบุชได้ให้สัมภาษณ์ที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ในช่วงที่มีผู้ชมมากที่สุดว่า การตรวจสอบอาวุธได้กลายเป็นเหลวไหลไม่น่าเชื่อถือ และแสดงท่าทีชัดเจนว่า สหรัฐอเมริกาจะดำเนินการเพื่อปลดอาวุธต่อที่ประชุมระว่า อิรักให้ความร่วมมือมากขึ้น และการปลดอาวุธอิรักสามารถจะดำเนินการเสร็จสิ้นโดใช้เวลาเป็นเดือนๆ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสเปนเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงออกคำสั่งให้ Saddam Hussein ส่งมอบอาวุธต้องห้ามภายในวันที่ 17 มีนาคม มิฉะนั้นจะต้องเผชิญสงคราม แต่ชาติอื่นๆ นำโดยฝรั่งเศสคัดค้านไม่ยอมให้มีการลงมติใหม่ใดๆ อีกที่จะอนุมัติให้มีการปฏิบัติการทางทหารต่ออิรัก
วันที่ 17 มีนาคม 2003 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และสเปนถอนร่างมติของตน และกล่าวว่าเวลาของการดำเนินการทางการทูตหมดแล้ว ประธานาธิบดีบุช ประกาศว่า Saddam Hussein จะต้องหนีออกไปจากอิรักมิฉะนั้นจะต้องเผชิญกับการรุกรานที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ในวันต่อมาอิรักประกาศไม่ยอมรับคำขาดของผู้นำสหรัฐ ดังนั้น ในวันที่ 20 มีนาคม กองลำลังสหรัฐจึงเริ่มปฏิบัตการทางทหารด้วยการโจมตีเป้าหมายใกลกรุงแบกแดดในช่วงเช้าตรู่ ด้วยทำเนียบขาวประกาศว่า “ขั้นตอนแรกของการปลดอาวุธระบอบปกครองอิรักได้เริ่มแล้ว”
ในการทำสงครามกับอิรักครั้งนี้สหรัฐอเมริกาและพันธมิตใช้กำลังพลและกำลังอาวุธจำนวนมาก กำลังทหารสหรัฐที่ใช้ในเขตปฏิบัติการหลัก (Central Command area of operations) ในช่วงกลางเดือนเมษายน 2003 มีมากกว่า 250,000 คน กำลังทั้งหมดอยู่ภายใต้ศูนย์บัญชาการกลาง (HQ CENTCOM) ซึ่งจัดตั้งขึ้นที่ Aayliyah ชานกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ จำนวนกองกำลังภาคพื้นดินที่ปฏิบัติการในอิรักและคูเวตประมาณว่ามีไม่น้อยกว่า 150,000 คน (กำลังพลกองทัพบกประมาณ 86,000 คน และกำลังจากหน่วยนาวิกโยธินประมาณ 64,000 คน) ภายในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการระดมกำลัง National Guard และกำลังกองหนุน (Reserve) จำนวนรวมกันกว่า 223,000 คน (ในจำนวนนี้มาจาก Army National Guard และ Army Reserve 148,700 คน) จำนวนรวมกันกว่า 223,000 คน (ในจำนวนนี้มาจาก Army National Guard และ Army Reserve 148,700 คน) เพื่อปฏิบัติการในการคุ้มครองเขตพื้นที่ซึ่งมีคุณค่าสูง เช่น ท่าอากาศยาน โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า และท่อส่งน้ำมัน
สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ปฏิบัติการในอิรัก/คูเวต นอกจากนั้น กองทัพเรือและกองทัพอากาศอังกฤษยังใช้กำลังพลปฏิบัติการในเขตพื้นที่อิรัก/คูเวตกว่า 2,000 คน กำลังทหารและ/หรือเจ้าหน้าที่จากประเทศอื่นๆ มี ดังนี้ ·
· สาธาณรัฐเช็คมีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ ชีวภาพ และเคมี (NBC) ในคูเวตจำนวน 250 คน
· เยอรมรีได้ส่งกองกำลัง 190 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ “Operation Enduring Freedom” ในอัฟกานิสถานไปทำหน้าที่เป็น “กำลังตอบโต้ทันทีทันใด” (immeddiate response force)
· มีรายงานว่า กำลังกว่า 10,000 คน ประกอบด้วยทหารจากซาอุดิอาเรเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน กาตาร์ และบาห์เรน ถูกส่งไปประจำการในคูเวต โดย ตั้งมั่นอยู่ที่ Salimi ห่างจากคูเวตซิตี้ไปทางเหนือประมาณ 120 กิโลเมตร เพื่อทำ หน้าที่ปกป้องคุ้มครองคูเวต โดยไม่เข้าร่วมในสงครามกับอิรัก
· นอกจากนี้ยังมีชาติอื่นๆ คือ โปแลนด์ โรมาเนีย สโลวาเกีย และยูเครน มีกำลังทหารทหาร/เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งใน สงครามครั้งนี้ด้วย
สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรใช้เวลาไม่มากนักในการเผด็จศึกอิรักครั้งนี้ นั่นคือ หลังจากบุกเข้าไปในอิรักเพียงไม่ถึง 1 เดือน ก็สามารถประกาศชัยชนะและจัดตั้ง “Goverming Council of Iraq” ในวันที่ 9 เมษายน 2003 อย่างไรก็ตาม มีคำถามมากมายเกี่ยวกับความหมายของ “ชัยชนะ” ครั้งนี้ว่า หมายความว่าอะไร และการที่ยังมีฝ่ายต่อต้านลอบโจมตีกองกำลังสหรัฐและผู้เกี่ยวข้อง (หรือไม่เกี่ยวข้อง) อื่นๆ อยู่แทบทุกวัน จะมีผลกระทบสำคัญต่อไปอย่างไร ไม่ว่าจะในแง่ของบทบาทสหรัฐและพันธมิตรในอิรักในอนาคตหรืออนาคตทางการเมืองของผู้นำอย่างเช่น ประธานาธิบดี บุชและนาย Tony Blair นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แม้ว่าการจัดตัว Saddam Hussein ได้ในเดือนธันวาคม ปีนั้นจะช่วยให้ภาพพจน์และสถานะทางการเมืองของผู้นำเหล่านี้ขึ้นบ้าง แต่เป็นที่คาดหมายกันว่าสถานการณ์ความรุนแรงในอิรักคงจะดำเนินต่อไป
แคนาดาได้จัดส่งคณะผู้วางแผนทางทหาร (military planning team) จำนวน 25 คนไปประจำที่ HQ CENTCOM ในกาตาร์

การก่อการร้ายเป็นความกังวลสนใจของประชาคมระหว่างประเทศมาอย่างน้อยตั้งแต่ ค.ศ. 1937 เมื่อสันนิบาตชาติ (League of Nations) ได้จัดทำอนุสัญญาเพื่อป้องกันและลงโทษการก่อการร้าย (Convention for the Prevention and punishment of Terrorism) หลังจากนั้นสหประชาชาติและองค์การระดับภูมิภาคได้ดำเนินการกับการก่อการร้ายจากทั้งแนวทางกฎหมายและการเมือง โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ประชาคมระหว่างประเทศได้จัดทำเครื่องมือทางกฎหมายจำนวนมากที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายสากล
การก่อการร้ายเป็นปัญหาสำคัญของโลกที่ได้รับความสนใจจากองค์สหประชาชาติ โดยตลอด สหประชาชาติเป็นศูนย์รวมสำคัญแห่งหนึ่งของความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายรวมทั้งได้กำหนดมาตรการและหลักการดำเนินงานสำหรับเรื่องนี้ไว้อย่างกว้างขวางด้วย ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 สหประชาชาติได้มีข้อมติ (resolutions) ออกมาเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวกับการก่อการร้อยโดยตรง และภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน สหประชาชาติก็ได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดแนวทางร่วมกันสำหรับชาติต่างๆ ในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายสากล [รูปและคำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติในกรอบ]
สหประชาชาติและการต่อต้านการก่อการร้าย“การก่อการร้ายเป็นการคุกคามระดับโลกที่มีผลกระทบระดับโลก ผลกระทบของก่อการกระทบทุกลักษณะของ
ระเบียบวาระของสหประชาชาติ - ตั้งแต่การพัฒนาสันติภาพ สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม... โดยลักษณะ
พื้นฐานการก่อการร้ายเป็นการโจมตีต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ระเบียบ สิทธิมนุษชน และการระงับข้อพิพาท
โดยสันติวิธี หลักการเหล่านี้เป็นรากฐานแห่งการต่อตั้งสหประชาชาติ... สหประชาชาติมีบทบาทที่ขาดไม่ได้ในการ
กำหนดกรอบทางกฎหมายและด้านการจัดระเบียบองค์การและโดยอาศัยกรอบดังกล่าวนี้การรณรงค์ระหว่างชาติ
เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายสามารถจะดำเนินการได้”
Kofi Annan
UN Secretary-Gencral
4 October 2002



โดยธรรมชาติของการเป็นที่รวมของชาติต่างๆ เกือบทุกชาติในโลก สหประชาชาติอยู่ในฐานที่รวมพลังงนานชาติจัดการกับการคุกคามต่อโลกเช่นการก่อการร้ายได้อย่างดีที่สุด นาย Kofi Annan ได้สรุปบทบาทและแนวทางของสหประชาชาติในการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้
เลขาธิการสหประชาชาติ Kofi Annan ได้กล่าวภายหลังการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ว่า ผู้ก่อการร้ายที่โจมตีสหรัฐอเมริกาในวันนั้นมุ่งไปที่ชาติเดียว แต่ได้ทำร้ายคนทั้งโลก จึงแทบไม่มีครั้งใดที่โลกจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเช่นในวันนั้น อันเป็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เกิดจากความสยดสยอง ความกลัว ความโกรธ และความเห็นอกเห็นใจอย่างลึกซึ้งต่อประชาชนชาวอเมริกัน ในส่วนของสหประชาชาตินั้น ภายในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมง ทั้งคณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาใหญ่ และเลขาธิการ ได้ลงมติประณามและสนับสนุนมาตรการจัดการกับผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ่ครั้งนี้และรัฐที่ให้การสนับสนุน
ข้อมติและเครื่องมือทางกฏหมายของสหประชาชาติในการต่อต้านการก่อการร้าย

จะให้หลักประกันด้านความชอบธรรมของการรวมตัวระดับโลกเพื่อการตอบโต้ระยะยาวต่อ
การก่อการร้าย อนุสัญญาสหประชาชาติให้กรอบทางกฎหมายสำหรับมาตรการจำนวนมาก
ที่จะต้องดำเนินการเพื่อขจัดการก่อการร้าย ซึ่งรวมไปถึงการเนรเทศและการดำเนินคดีผู้กระทำ
ความ ตลอดจนการปราบปรามการฟอกเงิน อนุสัญญาต่างๆ เหล่านี้จะต้องดำเนินการอย่าง
เต็บรูปแบบ
[สหประชาชาติ]... เป็นเวลที่ที่จำเป็นสำหรับการสร้างกลุ้มพันธมิตรที่เป็นสากลและสามารถ

[บางส่วนของข้อมติสหประชาชาติว่าด้วยการก่อการร้าย]
ข้อมติสหประชาชาติเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งในแง่ที่สะท้อนมติของประชาคมโลกและเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับชาติต่างๆ ก่อนหน้าเหตุการณ์ 11 กันยายน สหประชาติ โดยคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชาใหญ่ ได้มีข้อมติเกี่ยวกับการก่อการร้ายออกมาเป็นจำนวนมาก [ตัวอย่างรายชื่อข้อมติในกรอบ] ตั้งแต่ข้อมติสมัชชาใหญ่ที่ 36/109 เรื่อง “Measures to prevent intemational terrorism” (10 ธันวาคม 1981) มาจนถึงข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1269 เรื่อง “Condemning all acts of terrorism, irrespective of motive, wherever and by whoever committed” (4 ตุลาคม 199)Resolution No General Assembly Date
47/37 Consideration of effective measures 25 November 1992
46/51 Measures to elirninate international terrorism 9 December 1991
42/154 Consideration of enhancement 7 December 1987
42/22 Declaration on enhancement 7 December 1987
38/130 Measures to prevent international terrorism 19 December 1983
36/109 Measures to prevent international terrorism 10 December 1981
48/122 Human rights and terrorism 0 December 19931267 Imposes sanctions on Afghanistan for harbouring 15 October 1999
1269 Condemning all acts of terrorism, irrespective 4 October 1999
of motive, wherever and by whomever committed
6559 Security Council strongly condemns terrorist 13 August 1998
bomb in Nairobi and Dar es Salaam on 7 August
Libyan Arab Jamahiriya
883 Libyan Arab Jamahiriya 11 November 1993
Osma bin Laden
731 Acts of international terrorism 21 January 1992
674 Unconditional withdrawas of all Iraqi forces 29 October 1990
638 Incidents of hostage-taking 31 July 1989
635 Implications of acts of terorism 14 June 1989
579 Incidents of hostage-taking 18 December 1985
ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ได้มีข้อมติแถลงการณ์ และมาตการจำนวนมากออกมาเพื่อแสดงปฏิกิริยาต่อการกระทำครั้งนี้และกำหนดแนวทางการต่อต้านการก่อการร้ายสำหรับทุกรัฐ ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1368 (12 กันยายน 2001) ยืนยันสิทธิในการป้องกันตนเองตามกฏบัตรสหประชาชาติ และประณามการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโดยถือว่าเป็นการคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างชาติ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงยังได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มความพยายามในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย โดยเฉพาะด้วยเพิ่มความร่วมมือและการนำเอาอนุสัญญาและข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงไปปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ ต่อมาในวันที่ 18 กันยายน สมัชชาใหญ่ก็ได้มีข้อมติที่ 56/1 เรียกร้องความร่วมมือระหว่างชาติในการนำตับผู้ปฏิบัติการก่อการร้าย ผู้วางแผนดำเนินการ และผู้ให้การสนับสนุนมาลงโทษ และในการป้องกันและขจัดการก่อการร้าย โดยย้ำว่า ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการช่วยเหลือ สนับสนุนหรือให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย ผู้วางแผนดำเนินการและผู้สนับสนุน และต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน
ในวันที่ 21 กันยายน ต่อมา เลขาธิการสหประชาชาติ นาย Kofi Annan ได้เขียนบทความเรื่อง “Uniting against Terrorism” ลงในหนังสือพิมพ์ New York Times (ส่วนของบทความนี้ได้นำมาอ้างถึงข้างต้นแล้ว) โดยชี้ให้เห็นลักษณะความเป็นสากลของการก่อการร้าย โดยเฉพาะทัศนะที่ว่าอาคาร World Teade Centre เป็นที่รวมของบุรุษและสตรีในทุกความเชื่อทางศาสนาจากกว่า 60 ชาติทั่วโลก การต่อต้านการก่อการร้ายจึงจำเป็นต้องมีลักษณะที่เป็นความร่วมมือระหว่างชาติด้วย
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง 1373 และเครื่องมือทางกฎหมายในการต่อต้านการ ก่อการร้าย
748 Suppression of acts of international terrorism 31 March 1992
ข้อมติ 1373 ระบุให้ทุกรัฐป้องกันและปราบปรรามเครือข่ายการเงินสนั้บสนุนการก่อการร้าย ตลอดจนให้ถือว่าการก่อการจัดหาหรือรวบรวมเงินทุนสำหรับการกระทำเช่นนั้นเป็นอาชญากรรม เงินทุน ทรัพย์สินทางการเงิน และทรัพยากรทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของผู้ที่กระทำหรือพยายามกระทำการก่อการร้าย มีส่วนร่วม หรืออำนวยความสะดวกแก่การกระทำการก่อการร้อยโดยบุคคละองค์กรที่เกื้อหนุนผู้ก่อการร้าย ก็จะต้องถูกอายัดโดยทันที รัฐต่างๆ จะต้องห้ามบุคคลหรือองค์กรในดินแดนของตนมิให้จัดหาเงินทุน ทรัพย์สินด้านการเงิน ทรัพยากรทางเศรษฐกิจต่างๆ บริการด้านการเงินและอื่นๆ แก่บุคคลผู้กระทำหรือพยายามจะกระทำการก่อการร้าย อำนวยความสะดวดหรือมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย รัฐต่างๆ จะต้องงดเว้นการให้การสนับสนุนทุกรูปแบบแก่บุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย โดยจะต้องดำเดินมาตรการที่จำเป็นสำหรับการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และไม่ยอมให้ที่พักพิงแก่ผู้ที่ให้การอุดหนุนด้านการเงิน วางแผนสนับสนุน หรือกระทำการก่อการร้าย
โดยข้อมตินี้ คณะมนตรีความมั่นคงยังได้กำหนดให้ทุกรัฐป้องกันไม่ให้ผู้ที่ให้เงินอุดหนุนวางแผน อำนวยความสะดวก หรือกระทำการก่อการร้าย ใช้ดินแดนของตนเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต่อประเทศอื่นๆ หรือพลเมืองของประเทศเหล่านั้น รัฐต่างๆ จะต้องให้หลักประกันว่า ผู้ก็ตามที่มีส่วนร่วมในการให้การอุดหนุนด้านการเงิน การวางแผน การเตรียมการ หรือการกระทำการก่อการร้าย หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าว จะต้องถูกนำตัวมาลงโทษ รวมทั้งกำหนดให้การก่อการร้ายเป็นอาชญกรรมร้ายแรงในกฏหมายของแต่ละประเทศ
คณะมนตรีความมั่นคงยืนยันตามข้อมตินี้ที่จะให้รัฐต่างๆ ให้ความช่วยเหลือซึ่งและกันในการไต่สวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับการให้การอุดหนุนด้านการเงิน หรือสนับสนุนการก่อการร้าย รัฐจะต้องป้องกันไม่ให้มีการเดินทางข้ามพรมแดน โดยผู้ก่อการร้ายหรือกลุ่มของพวกนี้ด้วยมาตรการควบคุมการผ่านแดนที่มีประสิทธิผล รัฐจะต้องเร่งดำเนินการด้านการและเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้ายหรือขบวนการก่อการร้ายอย่างเข้มแข็งจริงจังยิ่งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการใช้เอกสารปลอมต่างๆ การซื้อขายและจัดหาอาวุธและวัตถุอันตรายใดๆ การใช้การสื่อสารและเทคโนโลยีโดยบกลุ่มก่อการร้าย และการคุกคามจากการครอบครองอาวุธทำลายล้างสูง รัฐจะต้องให้ความมือในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายด้วยการเป็นภาคีอนุสัญญาและพิธีสารระหว่างชาติที่ว่าด้วยการก่อการร้ายและนำบทบัติในข้อตกเหล่านี้ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่
ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้สถานะผู้ลีภัยแก่บุคคลนั้น ข้อมติกำหนดให้รัฐต่างๆ ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ที่ขอสถานะดังกล่าวนี้มิได้เป็นผู้วางแผน อำนวยความสะดวก หรือมีส่วนร่วมในการก่อการร้าย รัฐจะต้องแน่ใจว่า มิได้มีการใช้สถานะความเป็นผู้ภัยเพื่อประโยชน์ของการก่อการร้าย และการอ้างแรงจูงใจทางการเมืองก็มิอาจใช้เป็นข้ออ้างในการปฏิเสธการของให้มีการส่งตัวผู้ถูกกล่าวนาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน
ท้ายที่สุดคณะมนตรีความมั่นคงได้แสดงความวิตกเกี่ยวกัลความผู้พันใกล้ชิดระหว่างการก่อการร้ายสากลกับอาชญกรรมระหว่างชาติที่ดำเนินการอย่างเป็นขบวนการ การค้ายาเสพย์ติด การฟอกเงิน และการเคลื่อนย้ายวัตถุนิวเคลียร์ เคมี และชีวภาพอย่างผิดกฎหมาย คณะมนตรีความมั่นคงจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องกระชับความร่วมมือประสานงานทั้งในระดับชาติ อนุภูมิภาค และระหว่างชาติ เพื่อให้การตอบโต้การคุกคามต่อความมั่นคงระหว่างชาติเป็นไปอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
โดยข้อมติสำคัญครั้งนี้คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดตั้งคระกรรมธิการเรียกว่า “Counter Terrorism Committee of the Security Concil” (CTC) ขึ้นเพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินการตามข้อมติ โดยเรียกร้องให้ทุกรัฐรายงานการดำเนินงานของตนเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ และตั้งแต่นั้นมา CTC ก็กลายเป็นกลไกสำคัญของสหประชาติในการส่งเสริมปฏิบัติการร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ภายกิจหลักของกลไกดังกล่าวนี้คือการพยายามทำให้รัฐสมชิกยอมปฏิบัติตามข้อมติ 1373 และอนุสัญญาและพิธีสารที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย
ข้อมติและความตกลงต่างๆ เหล่านี้เป็นเครื่องมือ่ทางกฎหมายที่สำคัญในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายระหว่างชาติ ปัจจุบันนอกจากข้อมติสหประชาชาติจำนวนมากแล้ว ยังมีความตกลงทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคอีกรวมทั้งสิ้น 21 ฉบับที่เกี่ยวข้อกับปัญหานี้ ตัวอย่างความตกลงเหล่านี้ได้แก่
 Convention on Offences and certain Other Acts Committed on Board Aircraft (ลงนาม 14 กันยายน 1963 มีผลดำเนินการ 4 ธันวาคม 1969)
 Convention for the Suppression of Unlawful Seizure of Aircraft (ลงนาม 16 ธันวาคม 1970 มีผลดำเนินการ 14 ตุลาคม 1971)
 Convention on the Prevention and Punishment of Crimes against Internationally Protected Persons, including Diplomatic Agents (ลงนาม 14 ธันวาคม 1973 มีผลดำเนินการ 20 กุมภาพันธ์ 1997)
 International Convention against the Taking of Hostages (ลงนาม 17 ธันวาคม1979 มีผลดำเนินการ 3 มิถุนายน 1983)
 Convention on the Physical Protection of Nuclear Material (ลงนาม 3 มีนาคม 1980 มีผลดำเนินการ 8 กุมภาพันธ์ 1987)
 Convention on the Physical Protection of Nuclear Material (ลงนาม 3 มีนาคม 1980 มีผลดำเนินการ 8 กุมภาพันธ์ 1987)
 Protocol for the Suppression of Unlawful Acts of Violence at Airports Seving International Civil Aviation, supplementary to the Convention for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Civil Aviation (ลงนาม 24 กุมภาพันธ์ 1988 มีผลดำเนินการ 6 สิงหาคม 1989)
 Convention for the suppression of Unlawful Acts against the Safety ofMaritime Navigation (ลงนาม 10 มีนาคม 1988 มีผลดำเนินการ 1 มีนาคม 1992)
 Protocol for the Suppression of Unlawful Acts against the Safety of Fixed Platforms Located on the Continental Shelf (ลงนาม 10 มีนาคม 1988 มีผลดำเนินการ 1 มีนาคม 1992)
 International Convention for the Suppression of the Financing of Terorism (ลงนาม 9 ธันวาคม 1999 มีผลดำเนินการ 10 เมษายน 2002
 Arab Convention on the Suppression of Terrorism (ลงนาม 22 เมษายน 1998 มีผลดำเนินการ 7 พฤษภาคม 1999)
 Convention of the Organisation of the Islamic Conference on CombationInternational Terorism (ลงนาม 1 กรกฎาคม 1999 มีผลดำเนินการ 9 มีนาคม 2002)
 European Convention on the Suppression of Terorism (ลงนาม 27 มกราคม 1977 มีผลดำเนินการ 4 สิงหาคม 1978)
 OAS Convention to Prevent and Punish Acts of Terrorism Taking the Form of Crimes agaiust Persons and Related Extortion that are of Interational Significance (ลงนาม 2 กุมภาพันธ์ 1971 มีผลดำเนินการ 16 ตุลาคม 1973)
 OAU Convention on the Prevention and Combating of Terrorism (ลงนาม 14 กรกฎาคม 1999 มีผลดำเนินการ 6 ธันวาคม 2002)
 SAARC Convention on Suppression of Terrorism (ลงนาม 4 พฤศจิกายน 1987 มีผลดำเนินการ 22 สิงหา 1988)
 Treaty on Cooperation among State Members of the Commonwealth of Independent States in Combating Terrorism (ลงนาม 4 มีถุนายน 1999)
 Inter-American Convention against Terrorism (ลงนาม 3 มิถุนายน 2002)
 Protocol Amending the European Convention on the Suppression of Terrorism (ลงนาม 15 พฤษภาคม 2003
ข้อมติสำคัญฉบับหนึ่งของสหประชาชาติภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ก็คือ ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงที่ 1373 ซึ่งเรียกร้องให้มีการปราบปรามเครือข่ายสนสับสนุนด้านการเงินแก่ขบวนการก่อการร้าย และให้นานาชาติร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น ข้อมติดังกล่าวนี้ ซึ่งผ่านการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ในช่วงคืนวันที่ 28 กันยา 2001 ครอบคลุมประเด็นการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างกว้างขวาง โดยประกอบด้วยทั้งขั้นตอนและมาตรการในการต่อต้านการก่อการร้ายสากลสหประชาติมีโอกาสและลู่ทางในการต่อต้านการก่อการร้ายเพียงใด?
แน่นอน ยังมีข้อสงสัยและความไม่แน่ใจของฝ่ายต่างๆ อยู่อีกมากว่า สหประชาชาติมีความเหมาะสมกับบทบาทเช่นนั้นหรือไม่? เท่าที่ผ่านมาสหประชาติประสบความเสำเร็จไม่น้อยในการจัดการกับปัญหาอย่างเช่น ความยากจน สุขภาพ และความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม แต่ถึงบัดนี้ เมื่อการก่อการร้ายกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของโลก สหประชาชาติก็เผชิญกับการท้าทายครั้งสำคัญยิ่ง นั่นคือ นอกจากจัดการกับเรื่องที่ถือเป็น “soft” issues เช่นที่กล่าวแล้ว สหประชาชาติจะเผชิญกับเรื่องที่เป็นภัยคุกคามร้ายแรงเฉพาะหน้าเช่นการก่อการร้ายได้หรือไม่?
การคาดหวังประการหนึ่งเมื่อโลกเผชิญกับการก่อการร้ายร่วมกันก็คือ เราอาจจะต้องมีหน่วยงานถาวรรับผิดชอบการต่อต้านการก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมา CTC ที่คณะมนตรีความมั่นคงจัดตั้งขึ้นภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน มีบทบาทหลักด้านการให้คำปรึกษาแก่ประเทศที่แสดงหาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางกฎหมายเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายเป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้วยการเข้ามาควบคุมจัดระเบียบกระแสการเงินและการข้ามพรมแดน แต่นอกจากนั้นแล้วบทบาทของ CTC ในฐานะกลไกหลักของสหประชาติในการต่อต้านการก่อการร้ายก็มีเพียงรับทราบรายงานของประเทศต่างๆ เกี่ยวกับความคืบหน้าของตนในการดำเนินงานเรื่อง และให้ข้อเสนอแนะว่า จะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้าง โดยไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตัดสินหรือลงโทษประเทศที่ยังล้าหลังด้านมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย โดยไม่มีหน้าที่วินิจฉัยตัดสินหรือลงโทษประเทศที่ยังล้าหลังด้านมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย ในช่วงปีแรกของการดำเนินงานของ CTC มี 9 ชาติ ที่มิได้เสนอรายงานอย่างเป็นทาง และอีกหลายประเทศ (ส่วนใหญ่ในแอฟริกา) ยังมิได้มีการติดต่ออย่างเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ คณะกรรมาธิการชุดนี้
แม้จะเป็นที่คาดหวังว่า สหประชาติควรจะมีบทบาทที่เข้มแข็งมากขึ้นในการต่อต้านการก่อการร้าย แต่เราก็ต้องยอมรับข้อจำกัดขององค์การระหว่างประเทศที่มีสมาชิก 191 ประเทศ ข้อจำกัดดังกล่าวดูจะมีผลทำให้บทบาทนำในการต่อต้านการก่อการร้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาแทนที่จะอยู่ที่สหประชาชาติ กระนั้นก็ตาม หลายชาติคงพร้อมที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติมากกว่าจะสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานโดยพลการ (unilateralism) ของสหรัฐอเมริกา กรณีการตัดสินใจรุกรานอิรักของสหรัฐอเมริกาก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง แม้กระทั่งในบรรดาพันธมิตรสหรัฐเอง และแม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะได้รับลการสนับสนุนจากพันธมิตรและมิตรประเทศจำนวนหนึ่ง แต่การดำเนินงานของสหรัฐอเมริกาก็ขาดความชอบธรรมในสายตาประชาคมโลกทั่วไป ดังนั้น ในระยะยามการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของสหประชาชาติคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
การขยายการโจมตีของการก่อการร้ายต่อเป้าหมายต่างๆ ทั่วโลก ได้ตอกย้ำความจำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือระหว่างชาติในการจัดการกับปัญหานี้ ความจำเป็นดังกล่าวทำให้องค์การสหประชาชาติกลายมาเป็นที่สนใจว่า นอกจากสามารถจะเป็นเวลทีแสดงความเป็นปึกแผ่นในทางความคิดในการต่อต้านการก่อการร้ายแล้ว ยังควรจะเป็นหน่วยงานระหว่างชาติถาวรเพื่อต่อสู้กับปัญหานี้ได้โดยตรงด้วยสถานการณ์ด้านการก่อการร้ายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหาด้านความรุนแรงทางการเมืองมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีรากเหง้าของปัญหาอยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเองเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี กระแสความรุนแรงด้านการก่อการร้ายที่ขยายตัวกว้างขวางภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ทำให้ภูมิภาคนี้ล่อแหลมต่อการขยายความรุนแรงไปตามกระแสความรุนแรงทางภายนอกด้วยรากเหง้าความรุนแรงทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทยเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรงของการก่อการร้ายหรือความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะอื่นน้อยกว่าอีกบางประเทศในภูมิภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และพม่า แต่พื้นที่ทางใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 จังหวัดชายแดนใต้สุด คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ยังเผชิญปัญหาความไม่สงบในหลายรูปแบบตั้งแต่อิทธิพลท้องถิ่นไปจนถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดน สถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดความรุนแรงเป็นครั้งคราว โดยเหตุการณ์รุนแรงล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้น ค.ศ. 2004 นี่เอง นอกจากนั้น พรมแดนด้านตะวันตกที่ติดกับพม่าก็ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่ของความมั่นคงชายแดนและปัญหายาเสพติด
อินโดนีเซียเผชิญกับการกบฏต่อต้านในลักษณะต่างๆ รวมทั้งที่ดำเนินการโดยพรรคคอมมิวนิวสต์อินโดนีเซีย (PKI) ด้วยเช่นเดียวกัน การก่อการด้วยความรุนแรงครั้งสำคัญโดยPKI คือการกบฏที่มาดิอุน (Madiun) ในชวา ใน ค.ศ. 1948 และการพยายามยึดอำนาจในช่วงวันที่ 30 กันยายน - 1 ตุลาคม 1965 (เหตุการณ์ที่เรียกว่ากันว่า “gestapu” อันเป็นคำย่อยของ “ขบวนการ 30 กันยายน” ในภาษาอินโดนีเซีย) เหตุการณ์ครั้งนี้นำไปสู่การกวาดล้างขบวนการคอมมิวนิสต์ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับแสนคน การลุกฮือขึ้นต่อต้านโดยขบวนการดารูสอิสลาม (Darul Islam) ในช่วง ค.ศ. 1948-1963 ก็ก่อให้เกิดความรุนแรงและสูญเสียทั้งชีวิตและด้านอื่นๆ อย่างมาก ขบวนการศาสนาในหลายรูปแบบยังคมมีอยู่ในอินโดนีเซียและในช่วงหลังสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto) กระแสความต้องการที่จะแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งคุกรุ่นรอยู่ในหลายพื้นที่มาเป็นเวลานาน (ที่สำคัญคืออะเจห์และติมอร์ตะวันออก) ก็เริ่มประทุเป็นความรุนแรง
ในพม่าความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างรัฐบาลพม่าและชนกลุ่มน้อยหลากหลาย ซึ่งบางส่วนใช้การต่อสู้ด้วยอาวุธมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ แม่ว่ารัฐบาลพม่าจะได้ทำความตกลงกับชนกลุ่มน้อยได้บางส่วน แต่ความรุนแรง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด ก็ยังคงมีอยู่ตามพรมแดนไทย-พม่า
มาเลเซีย ซึ่งถือได้ว่ามีความมั่นคงเข้มแข็งทางการเมือง (ในความหมายของอำนาจควบคุมโดยรัฐ) มากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับการท้ายทางการเมืองที่สำคัญ เช่น มาเลเซียมีประชากรที่เป็นมุสลิมประมาณร้อยละ 58 และจีนร้อยละ 38 ที่เหลือเป็นประชากรเชื้อสายอินเดียวและอื่นๆ แม้จะมีความตึงเครียดทางเชื้อชาติระหว่างชุมชนมุสลิมและชุมชนเชื้อสายจีนมาโดยตลอด แต่การท้าทายจากพรรคการเมืองในปัจจุบันดูจะมาจากประชากรที่เป็นมุสลิมนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการท้ายจากพรรคการเมืองอย่างเช่น Islamic Party of Malaysia (PAS) ที่มีแนวนโยบายจัดตั้งรัฐอิสลามที่อาศัยรากฐานของกฎหมายอิสลาม หรือกลุ่มและขบวนการหัวรุนแรงที่มีอยู่จำนวนมาก โดยที่บางกลุ่มก็ยอมรับและใช้วิธีการก่อการร้ายหรือเป็นเครือข่ายโยงใยกับขบวนการก่อการร้ายสากลด้วย
ในฟิลิปปินส์พื้นที่ที่มีปัญหาความไม่สงบมาแต่เดิมได้แก่ เกาะลูซอน (Luzon) หมู่เกาะวิซายาส (Visayas) ที่อยู่ตอนกลาง และเกาะมินดาเนา (Mindanao) ทางใต้ ขบวนการคอมมิวนิสต์ที่เกิอดขึ้นในเกาะลูซอนมีพื้นฐานมาจากความไม่พอใจของชาวนาต่อระบบเจ้าที่ดิน (landlordism) ที่ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน หมู่เกาะวิซายาสทางตอนกลางของประเทศเคยถูกโจมตีอย่างรุนแรงและโหดร้ายโดยมุสลิมโมโร Moros) จากเกาะมินดาเนาอยู่เป็นประจำในช่วงที่สเปนปกครอง เมื่ออิทธิพลของคริสต์ศาสนาขยายตัวลงมาทางใต้มากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรที่เป็นมุสลิมในมินดาเนาก็เหลือเพียงร้อยละ 25 เมื่อถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ซึ่งยังคงเป็นจำนวนที่คงอยู่ในปัจจุบัน) ประชากรมุสลิมปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลมาตั้งแต่ช่วงสมัยของประธานาธิบดีมาร์กอส (Ferdinand E Marcos) และยังคงก่อความรุนแรงมาจนถึงทุกวันนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับขบวนการก่อการร้ายสากล
กลุ่มและขบวนการที่ใช้วิธีการก่อการร้าย หรือเป็นที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายสากล ดำเนินการอยู่ในหลายประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มและขบวนการเหล่านี้ ไม่ว่าจะอยู่บนพื้นฐานของความคิดทางศาสนาหรือไม่ก็ตาม มีรากฐานอยู่ในท้องถิ่นประเทศต่างๆ ในภูมิภาคดังได้กล่าวแล้วเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ด้วยเหตุที่การเคลื่อนไหวสำคัญที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ปรากฏอยู่ในพื้นที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภาคใต้ของประเทศไทย เกาะมินดาเนา และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ กลุ่มและขบวนการเหล่านี้จึงถูกโยงเข้ากับขบวนการก่อการร้ายสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนการ al-Qaida ที่เรียกร้องให้มุสลิมทั่วโลกรวมตัวกันต่อต้านตะวันตกภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ขบวนการศาสนาในท้องถิ่นจึงถูกเพ่งเล็งว่ามีการติดต่อหรือได้รับการสนับสนุนจากขบวนการก่อการร้ายสากล
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า จากการไต่ส่วนและรวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ โดยฝ่ายข่าวกรองและฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ผู้ก่อการในวันที่ 11 กันยายน อยู่ในเครือข่ายการก่อการร้าย al-Qaida ของ Osama bin Laden ในชั้นแรกนั้น ความสนใจมุ่งไปที่ความเชื่อมโยงระหว่าง al-Qaida และ Taliban ในอัฟกานิสถานและตะวันออกกลาง แต่หลังจากนั้นก็ปรากฏหลักฐานว่า al-Qaida มีเครือข่ายอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
หลักฐานจากการไต่สวนผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิก al-Qaida จำนวน 8 คน ใน
สเปนระบุว่าหลักฐานที่แสดงถึงความเกี่ยวโยงระหว่าง al-Qaida และขบวนการศาสนาหัวรุนแรงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะกลุ่มอาบูไซยัฟ (Abu Sayyaf) ในฟิลิปปินส์ กลุ่มหัวรุนแรงในมาเลเซียและองค์การศาสนาหัวรุนแรงในอินโดนีเซีย
กลุ่มหัวรุนแรงในอินโดนีเซียที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุด คือ Laskar Jihad และกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้ปกป้องแนวร่วมอิสลาม” (Defenders of Islam Front) พวก Laskar Jihad ทำสงครามศาสนาต่อต้านชาวคริสต์ในหมู่เกาะโมลุกะมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ส่วนแนวร่วมอิสลามปฏิบัติการอยู่ในชวาเป็นสำคัญ สมาชิกของทั้งสองกลุ่มมีทั้งผู้ที่เคยรบในสงครามในอัฟานิสถานและที่เคยอยู่ในกองกำลังที่ได้รับการฝึกในค่ายในปากีสถานและอัฟกานิสถาน
หลักฐานหรือข้อสันนิษฐานสำคัญ ที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างขบวนการก่อการร้ายสากลและกลุ่มหรือขบวนการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุป ได้ดังนี้
 หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสลัดอากาศที่ปฏิบัติการในวันที่ 11 กันยายน ซึ่งถูกระบุ ว่าชื่อ Khalid al-Midhar ปรากฏในเทปวีดิโอที่เจ้าหน้าที่มาเลเซียบันทึกไว้ในการติดตามพฤติกรรม หลักฐานดังกล่าวนี้ ซึ่งบันทึกไว้ในกัวลาลัมเปอร์แสดงให้ว่า Khalid al-Midhar ได้พบกับผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งในกรณีระเบิดเรือรบ USS Cole ของสหรัฐอเมริกาในเยเมน
 Rarnzi Yousef ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติการโจมตีตึก World Trade Centre ใน ค.ศ. 1993 ที่ถูกตัดสินจำคุกไปแล้ว เคยวางแผนที่จะระเบิดเครื่องบินสหรัฐในเอเซีย 11 ลำ ในระหว่างการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1994 แต่แผนการนี้ล้มเหลวไปเสียก่อน
 บุคคลที่ถูกอ้างถึงคนหนึ่งเพื่อแสดงถึงการแทรกซึมเข้ามาของเครือข่ายการก่อการร้ายข้ามชาติก็คือ ชาวมาเลเซียชื่อ Yaxid Sufaat บุคคผู้นี้เคยศึกษาวิชาเคมีอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 4 ปี ในช่วง ค.ศ. 1983-1987 แม่ยายของเขาเห็นว่าการศึกษาในทางโลกจะทำให้เขาห่างเหินออกไปจากแนวทางของอิสลาม จึงได้กระตุ้นส่งเสริมให้เขาหันมาศึกษาด้านศาสนา เมื่อเขากลับบ้านเกิดเมืองนอนก็ได้เข้าเป็นทหารในกองทัพบก โดยได้รับยศเป็นรายร้อยเอกในฝ่ายเทคนิคของห้องปฏิบัติการของหน่วยแพทย์ของกองทัพ เขากลายเป็นพวกหัวรุนแรงในทางศาสนาและตกอยูใต้อิทธิพลทางความของครูสอนศาสนาชาวอินโดนีเซีย 2 คน ที่ลี้ภัยอยู่ในมาเลเซีย คือ Abubakar Bassyir หัวหน้ากลุ่ม Jernaah Islamiah (JI) และ Riduaan Isamuddin (คนหลังนี้ ซึ่งเป็นผู้นำลำดับที่สองของกลุ่ม JI เป็นที่รู้จักในนาม “Hambali”) Sufaat ได้กลายมาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดของสองคนนี้ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตัวแทนขบวน การ al-Qaida ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทำ หน้าที่เป็นแกนนำสำคัญในมาเล เซีย โดยจะจัดประชุมกลุ่มขึ้น ณ บ้านพักของเขาเอง ในเดือนมกราคม 2000 Hambali สั่งให้เขาให้ที่พักแก่ผู้ที่จะกลายมาเป็นสลัดอากาศ 2 คน ที่จี้เครื่องบิน United Airline เที่ยวบินที่ 77 พุ่งชนอาคารกระทรวงกลาโหมในเหตุการณ์ 11 กันยายน คือ Khalid al-Midhar และนาวาฟ อัล ฮาชมี สลัดอากาศทั้ง 2 คน คงจะเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาในช่วงปีนี้เอง ขณะที่ Sufaat เดินทางไปอัฟกานิสถาน และทำหน้าที่ในหน่วยแพทย์ของขบวน การ Taliban ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เขาเดินทางกลับมาเลเซียในเดือนธันวาคม และถูกจับในข้อหาหลัก (นอก จากข้อหาอื่นๆ) คือ จัดหาแอมโมเนียม ไนเตรตจำนวน 4 ตัน (มากกว่าที่ Timothy McVeigh ใช้ระเบิดอาคารที่โอคลา โฮมาถึง 2 เท่า) ดินระเบิดจำนวนนี้ถูกเก็บไว้ที่เกาะบาตัมของอินโดนีเซีย
 เชื่อกันว่า Hambali วัย 36 ปี ผู้นำลำดับสองของกลุ่ม JI เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 11 กันยายน เพราะมีหลักฐานว่าเขาได้พบกับ Khalid al-Midhar และนาวาฟ อัล ฮาซ มีสองสลัดอากาศที่จี้เครื่องบินพุ่งชนอาคารกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ในมาเลเซียหมายครั้งใน ค.ศ. 2000 นอกจากนั้นยังเชื่อกันว่า เขาอยู่เบื้องหลังแผน การโจมตีหน่วยงานสหรัฐในสิงคโปร์ด้วย Hambali และ Abubakar Baasyir หนีการปราบปรามโดยรัฐบาลซูฮาร์โตในอินโดนีเซียในช่วงทศวรรษ 1980 โดยBaasyir นั้นเข้าใจว่าพำนักอยู่ในมาเลเซีย ในขณะที่ Hambali เดินทางต่อไปยังอัฟกานิสถานเพื่อต่อสู้กับกองกำลังโซเวียตที่ยังยึดครองประเทศนี้อยู่ในขณะนั้น Hambali ถูกจับในประเทศไทยเมื่อเดือน สิงหาคม 2003
 หนึ่งในผู้ตัดสินถูกจำคุกในกรณีระเบิดสถานทูตสหรัฐในเคนยา เป็นนักศึกษาอยู่ในฟิลิปปินส์เมื่อเขาถูกชักชวนให้ร่วมขบวนการของ Osama bin Saden
 ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน เจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า 4 คน ในจำนวนผู้ต้องสงสัยรวมทั้งสิ้น 19 คน ว่าเป็นผู้ปฏิบัติการในวันนั้น คือ Ahaed Fayez, Saeed Alghamdi, Ahmed Alghamdi และ Abdulaziz al-Omari อาจจะเคยเดินทางไปฟิลิปปินส์ เพราะชื่อของพวกเขาปรากฏอยู่ในบันทึกของฝ่ายครวจคนเมืองเมืองประเทศนี้
 จากหลังฐานข้อมูลที่ปรากฏขณะนี้ การแทรกซึมของเครือข่าย al-Qaida ปรากฏชัดเจนที่สุดในมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ดี ในช่วง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการจับกุมนักการศาสนาในกัมพูชาและไทย (ยังไม่มีการไต่สวนแน่ชัด) รวมทั้งการจับกุม Hambali ได้ที่จังหวัดพระนครอยุธยา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ปีเดียวกัน ก็อาจเป็นไปได้ว่า เครือข่ายดังกล่าวนี้และอื่นๆ มีอยู่อย่าง กว้างขวางทีเดียว


สถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในลักษณะต่างๆ หรืออย่างน้อยรากเหง้าของความรุนแรงเหล่านั้น ดำรงอยู่โดยตลอดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะมีความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจในหลายประเทศในภูมิภาคก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มีผลในแง่ของการบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งส่งกระทบต่อไปถึงสถานการณ์ปัจจุบันดูจะเกี่ยวข้อกับการขยายตัวของกระแสก่อการร้ายสากล โดยเฉพาะเมื่อเข้ามาเกี่ยวโยงกับขบวนการทางศาสนาและขบวนการที่ใช้แนวทางความรุนแรงอื่ๆ ในภูมิภาค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น